การพัฒนาทักษะอาชีพเกษตรสวนครัวของผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์ม

ผู้แต่ง

  • พฤฒิพงศ์ เพ็งศิริ Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi,

คำสำคัญ:

การพัฒนาทักษะอาชีพเกษตร, ผลกระทบโควิด 19, สามาร์ทฟาร์ม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอเรื่อง การพัฒนาทักษะอาชีพเกษตรสวนครัวของผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์ม เป็นการผสมผสานกับเทคโนโลยีทันสมัยในปัจจุบัน โดยยึดหลักเศรษฐกิจ พอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนาทักษะอาชีพด้านการเกษตรสวนครัวโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบนวัตกรรมสมาร์ทฟาร์มและพัฒนาทักษะอาชีพเกษตรสวนครัวสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 ในงานวิจัยนี้ได้ทราบถึงปัญหาเรื่องรายได้และความทุกข์ยากของคนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว โดยใช้เขตพื้นที่ความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองบ้านกรด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาเป็นกรณีศึกษา จึงได้พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมาร์ทฟาร์มเพื่อเป็นแนวทางการสร้างรายได้ในอาชีพเกษตรกรรมในรูปแบบเกษตรสวนครัวซึ่งจะได้ผลผลิตเป็นผักเกษตรสวนครัวปลอดภัย และเสริมเศรษฐกิจแบบพอเพียงและสังคมที่พึงพาตนเองได้ เช่นเดียวกันนั้นการให้ความรู้โดยจัดทำหลักสูรการอบรมระบบสมาร์ทฟาร์มสำหรับการเกษตรสวนครัวให้แก่คนในชุมชนเป็นจำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 และกลุ่มเกษตรกรยุคใหม่ ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพค่าเฉลี่ยในทุกด้านอยู่ที่ 4.02 อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก ทั้งนี้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ในการประกอบอาชีพเกษตรสมาร์ทฟาร์มและสามารถใช้งานระบบสมาร์ฟาร์มและอุปกรณ์ที่จัดเตรียมในการบอบรมได้ สามารถต่อยอดการทำเกษตรแบบผสมผสานและพึ่งพาตนเองได้ และเข้าใจในการปรับตนเองเพื่อในเข้ากับสถานการณ์ไม่ปกติในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

References

จักรกฤษณ์ หมั่นวิชา. (2558). เทคโนโลยีฟาร์มอัจฉริยะ. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 14(2), 201–210.
นพพล เชาวนกุล, ก้องภพ ลาลุน, & ชนาธิป บุตรบุญ. (2561). ระบบควบคุมค่าความเป็นกรด-ด่างและอุณหภูมิของสารอาหารอัตโนมัติ สำหรับการปลูกผักวิธีไฮโดรโปนิกส์ผ่านแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 4(1), 67–72.
บัณฑิตพงษ์ ศรีอำนวย, สราวุธ แผลงศร, วีระสิทธิ์ ปิติเจริญพร, & พิมพ์ใจ สีหะนำม. (2562). การออกแบบระบบสมาร์ทฟาร์มโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง สำหรับมะนาว จังหวัดเพชรบุร. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6, 808–816.
พิทักษ์ จิตรสำราญ, สุขสวัสดี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์, & เทพฤทธิ์ บัณฑิตวัฒนาวงศ์. (2560). การพัฒนาฟาร์มไก่ไข่แบบสมาร์ตบนพื้นฐานตรรกศาสตร์คลุมเครือและราสพ์เบอร์รี่ไพ. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 8(2), 356–367.
ศุภฤกษ์ เชาวลิตตระกูล. (2561). ระบบปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์แบบอัตโนมัติ [บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/3065
สามารถ ใจเตี้ย. (2556). การพัฒนารูปแบบการผลิตพืชผักสอนครัว เพอสุขภาพของชุมชนสะลอง-ขี้แาล็ก อำเภอแปริม จังห’วัตเชียงใหม. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 14, 15–22.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). กระบวนการผลิตพืชอาหารปลอดภัยของชุมชน. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่.
Bandara, T. M., Mudiyanselage, W., & Raza, M. (2020). Smart farm and monitoring system for measuring the Environmental condition using wireless sensor network—IOT Technology in farming. 2020 5th International Conference on Innovative Technologies in Intelligent Systems and Industrial Applications (CITISIA), 1–7. https://doi.org/10.1109/CITISIA50690.2020.9371830
Farooq, M. S., Riaz, S., Abid, A., Abid, K., & Naeem, M. A. (2019). A Survey on the Role of IoT in Agriculture for the Implementation of Smart Farming. IEEE Access, 7, 156237–156271. https://doi.org/10.1109/ACCESS.2019.2949703
Jayaysingh, R., David, J., Joel Morris Raaj, M., Daniel, D., & BlessyTelagathoti, D. (2020). IoT Based Patient Monitoring System Using NodeMCU. 2020 5th International Conference on Devices, Circuits and Systems (ICDCS), 240–243. https://doi.org/10.1109/ICDCS48716.2020.243588
Open Development Thailand. (2020). ผลกระทบ COVID-19 ต่อตลาดแรงงานไทย. Open Development Thailand. https://thailand.opendevelopmentmekong.net/th/topics/covid-19-impact-on-thai-labor-market/
Prayogo, S. S., Mukhlis, Y., & Yakti, B. K. (2019). The Use and Performance of MQTT and CoAP as Internet of Things Application Protocol using NodeMCU ESP8266. 2019 Fourth International Conference on Informatics and Computing (ICIC), 1–5. https://doi.org/10.1109/ICIC47613.2019.8985850
tdri. (2021, มกราคม 15). โควิด-19 ระลอกใหม่ ผลกระทบในตลาดแรงงาน. TDRI: Thailand Development Research Institute. https://tdri.or.th/2021/01/covid-19-impact-on-migrant-workers-2/
Umemoto, K., Milo, T., & Kitsuregawa, M. (2020). Toward Recommendation for Upskilling: Modeling Skill Improvement and Item Difficulty in Action Sequences. 2020 IEEE 36th International Conference on Data Engineering (ICDE), 169–180. https://doi.org/10.1109/ICDE48307.2020.00022

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20