การบริหารการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนในห้องเรียนรวม โรงเรียนบ้านนาหินโหง่นนาดง

ผู้แต่ง

  • ทวีวัฒน์ คัทมาร สพป.อบ.2

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, ทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือ, หลักสูตรรายวิชาทัศนศิลป์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) 2) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนในห้องเรียนรวม 3) ศึกษาคุณภาพของหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนในห้องเรียนรวม 4) ศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาศิลปะตามหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนในห้องเรียนรวม และ 5) ศึกษาผลการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนในห้องเรียนรวม โรงเรียนบ้านนาหินโหง่นนาดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ครูผู้สอนวิชาศิลปะ ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ทำหน้าที่ผู้บริหารจัดการหลักสูตรในสถานศึกษา จำนวน 5 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 คน ดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และทำการเพิ่มเติมสาระการเรียนรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามจุดเน้นของโรงเรียนบ้านนาหินโหง่นนาดง ให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทและความคาดหวังสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แบบสัมภาษณ์ (2) แบบบันทึก (3) แบบประเมินหลักสูตร และ(4) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) หลักสูตรวิชาศิลปะ มีการแยกเป็นช่วงชั้น ไม่เหมาะสมกับสภาพการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ต้องการหลักสูตรที่แยกเป็นรายชั้น 2) ได้หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แบบร่วมมือในห้องเรียนรวมจำนวน 4 หน่วยการเรียนรู้ มีผลการประเมินโดยรวมผ่านเกณฑ์ทุกหน่วยการเรียนรู้ ผลการประเมินความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการใช้หลักสูตรมีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.50/81.25  4) ผลการประเมินเจตคติของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีเจตคติโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและ 5) ผลการประเมินหลักสูตรมีประสิทธิภาพการบริหารการพัฒนาหลักสูตรอยู่ในระดับดี

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (2552-2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542. (ฉบับที่ 2). และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเค จำกัด.
ฉลอง ไชยมัชฌิม. (2561). ปัญหาการบริหารหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ทัศนศิลป์ของครูโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มสถานศึกษาที่ 2 อำเภอนาคู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
ชวลิต ชูกำแพง. (2561). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร แนวคิดและกระบวนการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: บริษัทวีพริ้นท์ จำกัด.
ณัฏฐกานจน์ อนันทราวัน. (2559) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนในห้องเรียนรวมระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประติมา ธันยบูรณ์ตระกูล อภิชาติ พลประเสริฐ วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา (2562) ศึกษาเรื่อง การพัฒนาหลักสูตร ศิลปศึกษาโดยใช้สถานที่เป็นฐานเพื่อสร้างนวัตกรรมศิลปวัฒนธรรมชุมชนชานเมือง. Veridian E-Journal, Silpakorn University. Humanities, Social Sciences and arts Volume 12 Number 4 July – August 2019, 1-2.
ปิยะพงษ์ ทรงประวัติ อุบลวรรณ ส่งเสริม. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์ด้วยวิธีซินเนคติกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์วาดภาพ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.Veridian E-journal, Slipakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2558, 853.
ผดุง อารยะวิญญู และวาสนา เลิศศิลป์. (2551). การเรียนรวม. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจ. เอ็น. ที.
มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2562). การพัฒนาหลักสูตร มโนทัศน์ การประยุกต์ใช้. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วรเดช จันทรศร. (2555).ปรัชญาของการบริหารภาครัฐแนวใหม่: ทฤษฎี องค์ความรู้ และการปฏิรูป. กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Avramidis, E., & Norwich, B. (2002). Teachers’ attitudes towards integration/inclusion: A review of the literature. European Journal of special Needs Education, 17(2), 129-147.
Dewey, J. (1997). Democracy and Education: An introduction to the philosophy of Education. New York: The Free Press.
Dikici, A. &Yavuzer, Y. (2006)). The Effect Cooperative Learning on the Abilities of Pre-Service Art Teacher Candidates to Lesson Planning in Turkey Australian. Journal of Teacher Education, 31(2).
Felder, R.M., & Brent, R. (2007). Cooperative Learning. In P.A. Mabrouk (Ed.), Active Learning: Models from the Analytical Science (Vol. ACS Symposium Series 970, pp. 34-53). Washington, DC: American chemical Society.
Gardner, H. (1994) ). The arts and human development. New York: Basic book.
Johnson, D.W., Johnson, R.T. & Holubee, E.J. (1994). The nuts and bolts of cooperative learning. Edina, Minnesota: Interaction Book Company.
Taba H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace and World.

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20