คุณภาพชีวิตการทำงานและปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ของพนักงานขับรถขนส่งน้ำมันในเขตภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • รวิสรา ชัยประภา และปรียานุช อภิบุณโยภาส มหาวิทยาเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตการทำงาน, ประสิทธิภาพการทำงาน, พนักงานขับรถขนส่งน้ำมัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานขับรถขนส่งน้ำมัน ในเขตภาคตะวันออก 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานขับรถขนส่งน้ำมัน ในเขตภาคตะวันออก และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานขับรถขนส่งน้ำมันในเขตภาคตะวันออก เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเพื่อสำรวจกับพนักงานขับรถขนส่งน้ำมันในเขตภาคตะวันออก จำนวน 340 คน โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ                  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอย ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานขับรถขนส่งน้ำมัน ลำดับแรกคือ ด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม จัดอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ระดับประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานขับรถขนส่งน้ำมัน ด้านคุณภาพงาน จัดอยู่ในระดับมากที่สุด (3) คุณภาพชีวิตการทำงาน ได้แก่                ด้านสภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านการพัฒนาและใช้ความสามารถของบุคคล และด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานขับรถขนส่งน้ำมันในเขตภาคตะวันออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 40.2 

References

ภาษาไทย

กนิษฐา บุญภา, ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์, และจิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถ

โดยสารประจำทางขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตการเดินรถแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัย

บูรพา, 8 (2), 46-58.

กรมการขนส่งทางบก (2562). สถิติการตรวจสอบและตรวจสภาพรถปีงบประมาณ. 2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงคมนาคม.

เจษฎา นกน้อย. (2552). แนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฏฐ์กฤตา อภิโชติภพนิพิฐ. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับแรงจูงใจในการทำงานและผลการ

ปฏิบัติงานของพนักงาน ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานของบริษัท ไทยตาบูชิ อิเล็คทริค จำกัด.

วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ณิชชา ทรงพร. (2562). การพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงานขนส่งสินค้า ในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยี

แห่งสุวรรณภูมิ, 1(1), 135-154.

ธนพล แสงจันทร์. (2556). อิทธิพลคุณภาพชีวิตที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานผ่านความผูกพันขององค์กรของพนักงานบริษัท

ประกันภัย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปราณี กมลทิพยกุล. (2553). คุณภาพชีวิตการทำงานกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ยูเซ็น แอร์ แอนด์ ซี

เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวไลยอลงกรณ์.

ผาณิต สกุลวัฒณะ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาราชนครพิงค์เชียงใหม่.

รายงานผลงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก. (2542). พระพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก มาตรา 127. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

รัตนา สิทธิพันธ์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ วิทยาลัยแพทยศาสตร์

กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2562). ปริมาณการขนส่งสินค้าทางถนนและตามประเภทสินค้า. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม.

สุนันทา เลาหนันทน์. (2546). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ธนะการพิมพ์.

ภาษาอังกฤษ

Biggs, H., Dingsdag, D., & Stenson, N. (2009). Fatigue factors affecting metropolitan bus drivers: A qualitative

investigation. Work, 32(1), 5-10.

Cascio, W.F. (2012). Managing human resources. New York: MoGraw-Hill Book Company.

Hair, J., Anderson, R., Tatham, R.L., & Black, W.C. (1998). Multivariate data analysis (5th ed.), NJ: Upper

Saddle River, Prentice-Hall.

Huse, E.F. and Cummings, T.T (1985). Organization development and change. (3 nd ed). Minnesotar West

Publishing.

Huse, E., & Thomas, C. (1980). Organization development and change. New York: West.

Katzell , R.A. (1980). Work attitude motivation and performance. Professional

Psychology,11(6),411-421.

Laschinger, H. K. S., & Leiter, M. P. (2006). The impact of nursing work environments on patient safety

outcomes: The mediating role of burnout/engagement. Journal of Nursing Administration, 5, 259-267.

Newstrom, J.W. and davis,K (2014). Organizational behavior human beharior at work. (10th ed). New York:

McGraw-Hill.

Odunayo, A.O. (2020). Assessing the influence of flexible-work-option as a precursor of work life balance

on employee productivity of logistics companies in rivers state Nigeria. British Journal of

Management and Marketing Studies,3(1), 55-66.

Peterson, E. & Plowman, G. E. (1953). Business Organization and Management. (3rd ed.). Ill: Irwin.

Ryan, T. (2020). Quality of work life is related to the organizational commitment of industrial truck

drivers.Upper Saddle River, NJ : Prentice Hall.

Solhi, M. (2021). Investigating The Status of Quality of Life in Freight Truck Drivers of The City of

Kermanshah and Its Influencing Factors. Iran Occupational Health,1(1), 1-12.

Walton, R.E. (1974 ). Criteria for quality of working life. New York: Free press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-25