สภาพการดำเนินงานและปัญหาการพัฒนางานด้านการผดุงครรภ์ไทย ในโรงพยาบาลรัฐของประเทศไทย
คำสำคัญ:
การผดุงครรภ์ไทย, ปัญหาการพัฒนางานด้านการผดุงครรภ์ไทย, โรงพยาบาลรัฐของประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานและปัญหาการพัฒนางานด้านการผดุงครรภ์ไทยในโรงพยาบาลรัฐของประเทศไทย 2) หาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพการดำเนินด้านการผดุงครรภ์ไทยในโรงพยาบาลของรัฐกับปัญหาการพัฒนางานด้านการผดุงครรภ์ไทยในโรงพยาบาลรัฐของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ แพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนไทยประยุกต์ จำนวน 458 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามสภาพและปัญหาการดำเนินงานด้านการผดุงครรภ์ไทยในโรงพยาบาลรัฐ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหามีค่าระหว่าง 0.6 – 1.00 และหาค่าสัมประสิทธิ์แอฟฟาของครอนบัค เท่ากับ 0.898 และ 0.836 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินงาน ด้านการผดุงครรภ์ไทยในโรงพยาบาลของรัฐ และปัญหาการพัฒนางานผดุงครรภ์ไทยในโรงพยาบาลรัฐ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.06, S.D. = 0.34; Mean = 4.12, S.D. = 0.39) ปัจจัยด้านสภาพการดำเนินงานด้านการผดุงครรภ์ไทยในโรงพยาบาลของรัฐ ได้แก่ 1) ด้านสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งแวดล้อม (r= .487) 2) ด้านบุคลากร (r= .381) 3) ด้านการปฏิบัติงาน (r= .596) 4) ด้านการควบคุมคุณภาพ (r= .481) และ 5) ด้านการจัดบริการ (r= .621) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับปัญหาการพัฒนางานผดุงครรภ์ไทยในโรงพยาบาลรัฐ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นสารสนเทศในการปรับปรุงสภาพการดำเนินงานและแก้ปัญหาการพัฒนางานด้านการผดุงครรภ์ไทยในโรงพยาบาลรัฐของประเทศไทยต่อไป
References
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2556). รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2554-2556. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.
จุฬาลักษณ์ เทียนรุ่งรัศมี,ปรัชญา แก้วแก่นและปริญญา เรืองทิพย์. (2560). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความ
ภักดีของผู้รับบริการการแพทย์แผนไทยในภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา,
(1), 22 - 28.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ :
วิทยาออฟเซทการพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุริยสาส์น.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2560 (2560,6 พฤศจิกายน)
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134. (ตอนพิเศษ 271), 1-12.
พรพรรณ ระวังพันธ์, ดลิชา ชั่งสิริพร และอรสา โอภาสวัฒนา. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริการจัดการ
การบริการ ด้านการแพทย์แผนไทย จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 27(2), 280 – 291.
วชิราพรรณ เดชสุวรรณ. (2562). บทบาทของแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยเด่นชัย
อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2560) คู่มือสำหรับผู้บริหารงาน
ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน. ปทุมธานี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท
ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร : อุษาการพิมพ์.
สุกัญญา คุ้มโพธิ์, ชนินทร์ เจริญกุล, พีระพล รัตนะ และ กฤษณา ศิริวิบูลยกิติ. (2559). ความพร้อมของการ
ให้บริการการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดลพบุรี. วารสารการแพทย์แผน
ไทยและการแพทย์ทางเลือก, 14(3), 296 – 312.
Darling, E. K., Easterbrook, R., Grenier, L. N., Malott, A., Murray-Davis, B., & Mattison, C. A. (2021). Lessons learned from the implementation of Canada’s first alongside midwifery unit: A qualitative explanatory study. Midwifery, 103, 1-10.
Luangpirom, N. (2016). Thai traditional medicine development: The proposed development model of modern Thai traditional medicine. Asian Journal of Pharmaceutical Sciences, 11(1), 87–88.
Megregian, M., Low, L. K., Emeis, C., de Vries, R., & Nieuwenhuijze, M. (2021). Essential components of midwifery ethics education: Results of a Delphi study. Midwifery, 96, 1-9.
Neamsuvan, O., Komonhiran, P., & Boonming, K. (2018). Medicinal plants used for hypertension treatment by folk healers in Songkhla province, Thailand. Journal of Ethnopharmacology, 214, 58–70.
Stevens, J. R., & Alonso, C. (2021). Developing operational standards for Midwifery Centers. Midwifery, 93, 1-5.
Turner, L., Griffiths, P., & Kitson-Reynolds, E. (2021). Midwifery and nurse staffing of inpatient maternity services – A systematic scoping review of associations with outcomes and quality of care. Midwifery, 103, 1-15.