การศึกษาเพื่อพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อสร้างสรรค์การเรียนรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาสำหรับเยาวชนไทย ยุค 4.0

ผู้แต่ง

  • พระศรีรัชมงคลบัณฑิต แหวนทอง บุญคำ กำธร เพียเอีย วิธวินท์ ภาคแก้ว และนิคม ปาทะวงศ์ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเรียนรู้., การเรียนรู้พระพุทธศาสนาของเยาวชน., นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและพฤติกรรมการเรียนรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาของเยาวชนไทย ที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาของเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี เพื่อศึกษาปัญหาการเรียนรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาของเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปีและเพื่อสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาทางด้านพระพุทธศาสนาสำหรับเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-24 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 9,140,544 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 440 คน การรวบรวมข้อมูลวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม จำนวน 440 ชุด และเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์กลุ่ม จำนวน 20 คน การวิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน และประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิเคราะห์สังเคราะห์เชิงพรรณา

ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เพศหญิง จำนวน 270 คน และเพศชาย จำนวน 170 คน โดยมากเฉลี่ยมีอายุระหว่าง 15-17 ปี จำนวน 297 คน  และโดยมากศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 158 คน พฤติกรรมการเรียนรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาของเยาวชนไทย ที่มีอายุระหว่าง 15 - 24 ปี ผลการวิจัยพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.94 S.D.= 0.56)  องค์ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาของเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15 - 24 ปี ผลการศึกษาวิจัยพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.91 S.D. = 0.50)  ปัญหาการเรียนรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาของเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15 – 24 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.91 S.D. = 0.50)  และนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้พระพุทธศาสนาสำหรับเยาวชนไทย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.96 S.D. = 0.46)  สรุปผลการวิจัยโดยองค์รวมได้ว่า การเรียนรู้พระพุทธศาสนาของเยาวชนไทย ด้านการเรียนในห้องเรียนยังมีความสำคัญกว่าทุกด้านมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือการฟังบรรยายธรรมและเข้าอบรมในโครงการต่างๆตามลำดับ ส่วนองค์ความรู้พระพุทธศาสนาที่เยาวชนมีมากที่สุดคือเรื่องศีล 5 หลักปฏิบัติตนพื้นฐานเพื่อเป็นคนดี รองลงมาเรื่องศีล 8 หลักการปฏิบัติตนเป็นคนดีที่ประเสริฐขึ้น ส่วนประเด็นที่เป็นปัญหามากที่สุดคือการเรียนพระพุทธศาสนาในชั้นเรียนไม่เข้าใจ รองลงมา คือเนื้อหาไม่เหมาะเป็นเนื้อหาที่ลึกซึ้งเกินไป ใช้ภาษาที่เข้าใจยาก และด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้พระพุทธศาสนาเป็นที่สนใจสำหรับเยาวชนไทยในยุค 4.0 คือนวัตกรรมประเภทแอพพลิเคชั่นแสดงสื่อเรื่องประวัติพระพุทธเจ้าและพระสาวก รองลงมาคือแอพพลิเคชั่นแสดงสื่อการเรียนรู้พระพุทธศาสนาทั่วไป ส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่าเยาวชนมีปัญหาในการเรียนรู้พระพุทธศาสนาคือการเรียนรู้ไม่เข้าใจในเรื่องที่ลึกซึ้งเกินไป การสอนในห้องเรียนใช้ภาษาที่ผู้เรียนเข้าใจยากและควรสอนในเรื่องที่เรียนแล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้จริง การฟังธรรมหรือการฟังการบรรยายธรรมะในโอกาสต่างๆ ใช้เวลานานและเนื้อหาเข้าใจยาก ซึ่งเยาวชนสนใจเรียนรู้ในเรื่องที่เข้าใจง่ายๆ ผ่านสื่อที่เข้าถึงง่ายเช่นระบบออนไลน์ ส่วนการเทศน์ของพระต้องมีมิติใหม่ในการสอนโดยไม่ให้คนฟังเบื่อและไม่ใช้ภาษาบาลีมากเกินไปควรบรรยายเนื้อหาพระพุทธศาสนาประยุกต์เข้ากับยุคสมัยมีความแปลกใหม่ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย

Author Biography

พระศรีรัชมงคลบัณฑิต แหวนทอง บุญคำ กำธร เพียเอีย วิธวินท์ ภาคแก้ว และนิคม ปาทะวงศ์, นักวิชาการอิสระ

-

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-25