ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการ กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คำสำคัญ:
สภาพแวดล้อม, คุณภาพชีวิตการทำงาน, แรงจูงใจ, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการ กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการ จำนวน 438 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ มีประสิธิภาพในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านอายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ประเภทพนักงาน ระยะเวลาในการทำงาน หน่วยงานที่สังกัด และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) สภาพแวดล้อม ด้านความมั่นคงปลอดภัย ด้านองค์การและการจัดการ และด้านการติดต่อสื่อสาร มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ 0.01 (3) คุณภาพชีวิตการทำงาน ด้านโอกาสในการพัฒนาความสามารถ ด้านบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน และด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ 0.01 (4) แรงจูงใจ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านความก้าวหน้า ด้านความรับผิดชอบ ด้านลักษณะของานที่ปฏิบัติ ด้านค่าตอบแทน ด้านความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านความมั่นคงในงาน และด้านการบังคับบัญชา มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ 0.01 โดยตัวแปรดังกล่าวมีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 30
References
เอกสารอ้างอิง (References)
ดาริน ปฏิเมธีภรณ์. (2556). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน
บริษัท ขนส่งทางอากาศของเอกชนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต :
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธีรนัย ศิริเลขอนันต์. (2552). การศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในที่ทำงานและระดับความเครียดกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นงลักษณ์ มีจรูญสม. (2546). สภาพที่เป็นจริงและความคาดหวังในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ของวิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง
ตามทัศนะของอาจารย์และนักศึกษา. สถาบันราชภัฏพระนคร:กรุงเทพฯ.
DOI:https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=
ประภาพร ตั้งตรงไพโรจน์. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่. [ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2545). คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรหน่วยงานสังกัดสภาคริสตจักรในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร
สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์. (2563). รายงานประจำปี. สืบค้นจาก https://www.hrm.chula.ac.th/newhrm/
สุทัศน์ ปัญสุวรรณ์. (2551). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการราชทัณฑ์ ในจังหวัดเชียงใหม่. [ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
อำนาจ ธีระวนิช. (2547). บริษัท ซี.วี.แอล. การพิมพ์ กรุงเทพฯ: การจัดการ.
อุสุมา ศักดิ์ไพศาล. (2556). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน
บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด. [ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Herzberg, F., B. Mausner & B. Snyderman. (1959). The Motivation to work New York: John Wiley& Sons, Inc.
Peterson, E. & Grosvenor, P.E. (1953). Business Organization and Management Hoomewood IIinois: Richard D. Irwin.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York. Haper and Row Publications.