แนวทางการปรับตัวของชุมชนดั้งเดิมเพื่อความอยู่รอดภายใต้ปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชันในเขตพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจใหม่ของกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อังคณา อยู่สุข และพีรียา บุญชัยพฤกษ์ Department of Urban and Environmental Planning, Faculty of Architecture, Silpakorn University

คำสำคัญ:

การปรับตัว, ความอยู่รอด, ชุมชนดั้งเดิม, ปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชัน, พื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจใหม่ของกรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ศึกษาที่นำไปสู่การเกิดปรากฏการณ์
เจนตริฟิเคชัน รวมทั้งศึกษาผลกระทบของปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชันที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่กลุ่มผู้อยู่อาศัยในเขตพื้นที่ศึกษาและแนวทางการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดภายใต้ปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชันของกลุ่มผู้อยู่อาศัยในเขตพื้นที่ศึกษา และศึกษามาตรการทางผังเมืองหรือแนวทางที่สามารถเอื้อให้กลุ่มชุมชนดั้งเดิมสามารถอาศัยอยู่ได้ภายใต้ปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชัน โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจข้อมูลลักษณะทางกายภาพของพื้นที่และการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม ในช่วงปี 2550 – 2563 เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่นำไปสู่การฉายภาพการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ที่อยู่ในระยะรัศมี 1,000 เมตร จากรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีสถานีพระรามเก้า ประกอบกับการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง จำนวน 5 ราย และผู้นำชุมชนหรือประชาชนในพื้นที่ศึกษา จำนวน 5 ราย จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่าพื้นที่ศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่เซ็นทรัลแกรนด์ในปัจจุบันซึ่งถูกปรับเปลี่ยนแทนที่ด้วยรูปแบบของการจัดการพื้นที่ใหม่เป็นโครงการพัฒนาย่านธุรกิจและพื้นที่พาณิชยกรรมแบบผสมผสาน จากเดิมที่เคยมีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและพาณิชยกรรมขนาดเล็ก รวมถึงรูปแบบของสถาปัตยกรรมอาคารเปลี่ยนไปเป็นอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่ที่มีความทันสมัย ทำให้พื้นที่ศึกษากลายเป็นแหล่งการค้า การบริการ ศูนย์คมนาคม และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เกิดการย้ายถิ่นเข้าพื้นที่ของคนที่มีฐานะทางสังคมสูงกว่า ในขณะที่มีการย้ายถิ่นออกจากพื้นที่ชุมชนเดิมของประชากรกลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ นำไปสู่การเกิดปรากฏการณ์ที่เข้าข่ายเป็นปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชัน นอกจากนี้ ยังพบว่าพื้นที่ศึกษามีการขยายตัวและเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มผู้อยู่อาศัยเดิมในเขตพื้นที่ศึกษา โดยเฉพาะประชากรกลุ่มเปราะบางหรือคนในชุมชนที่มีสถานะด้อยกว่า ส่งผลให้ค่าครองชีพเพิ่มขึ้นอย่างมาก ผู้มีรายได้น้อยที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าครองชีพขาดความเป็นอยู่และขาดคุณภาพชีวิตที่ดี ด้านสังคม ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่เพิ่มขึ้น ทางด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ส่งผลให้พื้นที่ศึกษามีมลพิษเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ กลุ่มผู้อยู่อาศัยเดิมในพื้นที่ศึกษามีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด โดยการวางแผนการใช้จ่ายอย่างรอบคอบและประหยัด จากการศึกษามาตรการทางผังเมืองหรือแนวทางการพัฒนาของรัฐในพื้นที่ศึกษา พบว่ามีมาตรการที่สามารถเอื้อให้กลุ่มชุมชนดั้งเดิมสามารถอาศัยอยู่ได้ภายใต้ปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชัน ซึ่งประกอบด้วย การขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะเพื่อยกระดับชุมชนอัจฉริยะ การพัฒนาที่อยู่อาศัยควบคู่กับการสร้างสังคมเข้มแข็ง การแก้ไขปัญหาคนจนเมือง การวางแผนจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสม การใช้ระบบที่อยู่อาศัยครบวงจร การลดภาวะเปราะบางของประชากรในเมือง และการเพิ่มความเป็นส่วนรวมให้กับพื้นที่สาธารณะของเมืองให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของทุกกลุ่ม ผ่านการบริหารจัดการพื้นที่ของเมือง แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินการตามมาตรการทางผังเมืองหรือแนวทางดังกล่าวยังพบปัญหาหรืออุปสรรคที่ทำให้ผลการดำเนินงานยังไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำความเข้าใจและสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

References

จาตุรงค์ โพคะรัตน์ศิริ. (2546). การศึกษาปรากฏการณ์เจนตริพิเคชั่นในการอนุรักษ์ชุมชนเมือง : กรณีศึกษาผลกระทบทางสังคมในย่านชุมชนบางลำพู กรุงเทพมหานคร. [ปริญญาการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต]. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ชาตรี ประกิตนนทการ. (2563). เมืองกับความขัดแย้ง (1) ‘สโลว์ไลฟ์’ วิถีคนชั้นกลางบน. สืบค้นวันที่ 5 มิถุนายน 2565

จาก https://www.naewna.com/likesara/365756

พีรียา บุญชัยพฤกษ์. (2562). สุวิทย์ วงศ์รุจิราวาณิชย์ สนทนากับ ดร. พีรียา บุญชัยพฤกษ์ ว่าด้วยเรื่องย่านเก่าเล่าใหม่และ

การแปลงเมืองโดยครีเอทีฟชน. สืบค้นวันที่ 5 มิถุนายน 2565 จาก https://kooper.co/th-conversation-on-city-gentrification

วสันต์ ปวนปันวงศ์. (2560). การพัฒนาพื้นที่ชนบทให้กลายเป็นเมือง : กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวดอยม่อนแจ่ม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 8(2), 55-80.

สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ. (2556). ข้อสังเกตบางประการทางประวัติศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนกับการฟื้นฟูเมืองในประเทศไทย. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย, 9, 137-150.

สุมาลี ปิตยานนท์. (2545). ตลาดแรงงานไทยกับนโยบายรัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิวัฒน์ รัตนวราหะ. (2563). มนุษย์เมือง 4.0: วิถีชีวิต พื้นที่ และความเหลื่อมล้ำ. การประชุมเสวนาวิชาการ แผนงาน

บูรณาการยุทธศาสตร์เป้าหมายด้านสังคม คนไทย 4.0. วันที่ 15 ธันวาคม 2563, โรงแรมมิราเคิล แกรนด์

คอนเวนชัน กรุงเทพมหานคร.

อริสา จันทรบุญทา และ จิรัฐ เจนพึ่งพร. (2561). ความเป็นเมือง (Urbanization) และนัยเชิงนโยบายของไทย. Focused and Quick (FAQ): Bank of Thailand, 128, 1-15.

Cresswell, J. W. (2009). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed methods approaches (3 ed.). Thousand Oaks: Sage.

Glass, R. (1964). London: Aspects of change. London: MacGibbon & Kee.

Hair, J. F. Jr., Bush, R. P., & Ortinau, D. J. (2003). Marketing research within a changing information environment (2 ed.). New York: McGraw-Hill.

Hardin, G. (1968). The tragedy of the commons. Science, 162(3859), 1243-1248.

Herzfeld, M. (2010). Heritage and the rights to the city: When securing the past creates security in the present. Heritage & Society, 8(1), 3-23.

Ravenstein, E. G. (1989). The laws of migration. Journal of the Royal Statistical Society, 52(2), 241-301.

Wall, E., & Barry, S. (2005). Climate change adaptation in light of sustainable. Journal of Environmental Management, 96, 402–411.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26