การพัฒนาชุดกิจกรรมการเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1
คำสำคัญ:
คําสําคัญ: ชุดกิจกรรมการเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ พัฒนาการทางร่างกาย นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์และส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 เป็นตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรม 3) เปรียบเทียบผลการใช้ชุดกิจกรรมก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมและ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้ชุดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 ของโรงเรียนอนุบาลบ้านเหนือเขมราฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 จำนวน 20 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 4 ชุด 2) แผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 4 แผน 3) แบบประเมินพัฒนาการทางร่างกายและ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้ชุดกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยนเบนมาตรฐาน เกณฑ์ประสิทธิภาพ E1 / E2 ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) และการทดสอบค่า t (t - test แบบ Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพของของชุดกิจกรรม มีประสิทธิภาพ 86.75/83.03 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรม มีค่าเท่ากับ .69 ผลการเปรียบเทียบพัฒนาการทางด้านร่างกายสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก
References
กรมวิชาการ. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
กาญจนา ชูเกิด. (2559). การพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง. ตรัง: โรงเรียนบ้านควนยาง.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2552). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค.
ชาลิสา อุมา. (2560). การพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียน บ้านบูดี โดยใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง โดยนักเรียนมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษายะลา เขต 1.
ทวีพร วรรณา. (2552). การศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กกลุ่มอาการดาวน์ระดับอนุบาล โดยการใช้กิจกรรมการเลนแบบบูรณาการและการเสริมแรงทางบวก. [ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทัตยา ปรีดิศรี. (2557). ผลการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างสรรค์ส่งเสริมและพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยใช้คู่มือครู ชุดการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นครสวรรค์: โรงเรียนเทศบาลวัดช่องคีรีศรีสิทธิวราราม.
ทิพธัญญา อุ่นท้าว และปวีณา ลิมปิทีปราการ (2565) ศึกษาผลของกิจกรรมเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์ ต่อทักษะการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัยกรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(3), 834-850.
ทิศนา แขมมณี (2545). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.
นารีรัตน์ จันทวฤทธิ์ นันทา โพธิ์คำ และวีณา ภาคมฤค (2564) ดนตรี กิจกรรมเคลื่อนไหว และจังหวะ เพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะทางด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 5(2), 237-248.
บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2553). สถิติวิเคราะห์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์. ม.ป.พ.
พัฒนา พรหมณี ยุพิน พิทยาวัฒนชัย และจีระศักดิ์ ทัพผา. (2563). แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 26 (1), 59-6.
มัทธนี ตุลยาทร. (2522). เพลงประกอบกิจกรรมและเสริมประสบการณ์ในระดับอนุบาลศึกษา. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เยาวพา เดชคุปต์. (2540). ดนตรีและกิจกรรมเข้าจังหวะ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ละไม สีหาอาจ. (2551). การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2542). การวิจัยทางการศึกษาปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต] สกลนคร: สถาบันราชภัฏสกลนคร.
วรศักดิ์ เพียรชอบ (2561). รวบรวมบทความเกี่ยวกับปรัชญา หลักการ วิธีสอน และการวัดเพื่อประเมินผลทางการพลศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579.กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (สำหรับเด็ก อายุ 3-5 ปี). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
สุวรรณี สร้อยเสนา. (2559). ผลการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวเชิงพิลาทีสที่มีต่อพัฒนาการ ด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 90-101.
Edwards. C., L. (2006). The creative arts : A process approach for teacher and children. New Jersey: Pearson education.
Gesell, A. (1940). The first five year of life : A guide to the study of the pre school child. New York : Harper.
Ruzimbaev, M. A. (2021). Methodological methods of teaching children for movement activity in the process of physical education classes. INTERNATIONAL SCIENTIFIC RESEARCH JOURNAL, 2(4), 313-322.
Thomas, J.W. (2011). Creativity through music and movement. Illionois Music Educator. 72, 98-99.