การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการตลาดดิจิทัล ผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนวัยหวาน อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
ระบบสารสนเทศ, ส่งเสริมการจำหน่าย, วิสาหกิจชุมชนวัยหวานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนวัยหวาน อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เพิ่มช่องทางการจัดจําหน่ายผลิตภัณฑ์ เก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศด้านการตลาด รวมทั้งการบริหารจัดการระบบร้านค้าผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ให้เข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวาง สร้างภาพลักษณ์วิสาหกิจชุมชนให้ทันสมัย ช่วยให้ชุมชนสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และยกระดับการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนวัยหวาน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การพัฒนาระบบระบบนี้เป็นรูปแบบของเว็บแอพลิเคชันที่สามารถรองรับการใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ได้นำหลักการทฤษฎีของวงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (System Development Life Cycle: SDLC) มาใช้เป็นแนวทางในพัฒนาระบบ โดยรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ที่เกี่ยวข้องในวิสาหกิจชุมชนวัยหวาน เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบ ได้แก่ โปรแกรมภาษาพีเอชพี โปรแกรมภาษาซีเอสเอส และโปรแกรมบริหารจัดการฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล และการประเมินประสิทธิภาพของระบบใช้วิธีการ Black Box Testing โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 5 คน และผู้ใช้งานทั่วไป จำนวน 10 คน
ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีค่าเฉลี่ย 4.62 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49 มีค่าระดับประสิทธิภาพของอยู่ในระดับ ดีมาก และผลการประเมินประสิทธิภาพจากผู้ใช้งานทั่วไป มีค่าเฉลี่ย 4.47 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 มีค่าระดับประสิทธิภาพอยู่ในระบบ ดี จึงสรุปได้ว่าระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสามารถนำมาใช้งานเพื่อส่งเสริมการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการ
References
กิตติพงษ์ โสภณธรรมภาณ อรอนงค์ สรรเสริญ คุณากร ไวยวุฒิ อธิพันธ์ วรรณสุริยะ รุจิภาส ประชาทัย ชฎาพร
จักรทอง และปริญญา สีม่วง. (2565). การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนากลยุทธ์ การตลาดจากกล้วยหอมทองเพื่อเข้าสู่การตลาด วิสาหกิจชุมชนวัยหวาน. การประชุมวิชาการระดับชาติเชิงสร้างสรรค์ ราชมงคลวิชากรุงเทพวิชาการ 2565, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. 235-240.
คอนเทนต์ชิฟุ. (2565). Digital Marketing มีอะไรบ้าง?. สืบค้นวันที่ 1 พฤษภาคม 2565,
จาก https://contentshifu.com/pillar/digital-marketing-channels.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ : เทพเนรมิตการพิมพ์.
เพชรา บุดสีทา. (2564, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาชองทางจัดจำหน่ายโดยใชการตลาดดิจิทัลเพื่อเพิ่ม ความสามารถในการแข่งขันใหกับผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน ตำบลทาขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 8(2),
-59.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). ผลการสำรวจพฤติกรรม ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประเทศไทย ปี 2564. สืบค้นวันที่ 31 มีนาคม 2565, จาก https://www.etda.or.th/th/pr-news/ETDA-released-IUB-2021.aspx.
อรวรรณ แท่งทอง. (2561, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการตลาดเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากปลาช่อนแม่ลา อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 253-266.
Roth, R. M., Dennis, A., & Wixom, B. H. (2013). System Analysis and Design (5th ed). John Wiley & Sons.
Tegarden, D., Dennis, A., & Wixom, B. H. (2013). System Analysis and Design with UML (4th ed). John Wiley & Sons.