ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

Factors Affecting Analytical Thinking Ability of Student in Schools Under The Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon

ผู้แต่ง

  • ธีระเดช กุลสาร และคณะ -

คำสำคัญ:

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร, ความสามารถการคิดวิเคราะห์, ปัจจัยที่ส่งผล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1)ศึกษาระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน 2)ศึกษาระดับความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน 3)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลกับความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน 4)ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน และ 5)ศึกษาแนวทางการพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร จำนวน 327 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .41-.72 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 และแบบทดสอบความสามารถการคิดวิเคราะห์ มีค่าค่าความยากง่าย .20-.44 และอำนาจจำแนกระหว่าง .37-.87 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 แบบทดสอบด้านความสามารถด้านเหตุผล มีค่าความยากง่าย .21-.76 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .25-.71 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 แบบทดสอบด้านเชาวน์ปัญญา มีค่าความยากง่าย .56-.56 อำนาจจำแนกระหว่าง .45-.51 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .84 และค่า IOC เท่ากับ 0.6-1.0 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ คาเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า 1)ระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนอยู่ในระดับมาก2)ระดับความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนอยู่ในระดับปาณกลาง 3)ปัจจัยที่ส่งผลกับความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร มีความสัมพันธ์ทางบวก

อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4)ตัวพยากรณ์ที่ดีในการพยากรณ์ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (Y) คือ เชาวน์ปัญญา (X7) ความสามารถด้านเหตุผล (X8) การอบรมเลี้ยงดู (X4) และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (X5) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .489 มีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ได้ร้อยละ 93.7 5)แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนมี 4 ด้าน คือ ด้านเชาวน์ปัญญา ด้านความสามารถด้านเหตุผล ด้านการอบรมเลี้ยงดู และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

 

References

เอกสารอ้างอิง(References)

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 (ปรับปรุง พุทธศักราช 2563). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กัลยาพร จงภัทรทรัพย์. (2560). โมเดลเชิงสาเหตุความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 ตามขนาดโรงเรียนมีรูปแบบโมเดลไม่แปรเปลี่ยน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิจัยและประเมิน ผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ดวงจันทร์ วรคามิน, ปังปอนด์รักอำนวยกิจ และยศวีร์ สายฟ้า. (2559). การศึกษาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และการมีจิตสาธารณะเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นคนดีคนเก่งของนักเรียนไทย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ.

ทิศนา แขมมณี. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: มาสเตอร์กรุ๊ปแมนเนจเม้นต์.

นิตยา สุดตาจันทร์. (2552). ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5 : การวิเคราะห์พหุระดับ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาการวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิภาพร หาญพิพัฒน์. (2553). การวิเคราะห์พหุระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดวอเคราะห์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ศษ.บ สาขาวิชาวิจัยและสถิติการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เบ็ญจพร ภิรมย์. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่สงผลตอความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชวงชั้นที่ 3 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. สาขาวิชาวิจัยการศึกษา มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พัชราภรณ์ พิมละมาศ. (2544). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาตามแนวคิด 4 MAT ที่มีต่อ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิต สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มกราพันธุ์ จุฑะรสก. (2551). การจัดการความรู้: วิถีการเรียนรู้สู่การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์. ขอนแก่น: คลังวิทยา.

ยรรยง ภูกองพลอย. (2550). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัด กาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิยะดา ปทุมรัตน์. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาการวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สุชาดา ปั้นโฉม. (2551). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ในวิชาคณิตศาสตร์ของ นักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ในโรงเรียนเอกชนกลุ่ม 3 เขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานครเขต 1. วิทยานิพนธ์ ปริญญานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา องค์การมหาชน. (2559). คู่มือการประเมินคุณภาพ ภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา องค์การมหาชน.

สำนักข่าวอิศรา. (2556). จุดวิกฤตของปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในหมู่คนไทย จุดวิกฤตของประเทศและผลประโยชน์ ของทุกคน. กรุงเทพฯ

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิก จำกัด พิมพ์ครั้งที่ 1.

สุคนธ สินธพานนท. (2552). การพัฒนาทักษะการคิด. (พิมพครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.

สมบัติ ทายเรือคำ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2545). การวัดผลการศึกษา. มหาสารคาม: ภาควิชาการวัดและวิจัยทางการศึกษา มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

อาภรณ์ บุญมาก. (2552). ปัจจัยที่สัมพันธกับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 : การวิเคราะห์พหุระดับ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อรวรรณ เอี่ยมไพศาล. (2552). ปัจจัยบางประการที่ส่งผล ต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 เขตพื้นที่การศึกษาเลย. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

อภิญญา แฝดกลาง. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาการวิจัย การศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อุทัยราชันย์ มาตเลิง. (2556). การศึกษาปัจจัยบางประการที่ส่งผลในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สาขาการวิจัยและสถิติการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of Education Objective Handbook: Cognitive Studies. New York: David Mackey Company, Inc.

Guildford, J.P. (1967). Psychometric Methods 2nd ed. New York: Ma Graw Hill.

Good, V. Carter. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill.

Hilgard, J. R. & LeBaron, S. (1984). Hypnotherapy of pain in children with cancer. Los Alto, California: William Kaufmann.

Piaget, J. (1964). Part I: Cognitive development in children: Piaget development and learning. Journal of Research in Science Teaching, 2, 176–186.

Thurstone, L.L. (1976). Attitude Can be Measured. New York: John Wiley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-25