การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะไทยแลนด์ 4.0 ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • มงคล จิตรโสภิณ -

คำสำคัญ:

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน, ทักษะไทยแลนด์ 4.0, นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะไทยแลนด์ 4.0 ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 2) เพื่อประเมินทักษะไทยแลนด์ 4.0 ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 25 คน ได้มาโดยใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะไทยแลนด์ 4.0 ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 2) แบบวัดทักษะไทยแลนด์ 4.0 ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษานักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .8535 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า 1. คะแนนความเหมาะสมของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 8 แผน โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก  เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้านพบว่าแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 2 ด้าน นอกนั้นมีความเหมาะสมในระดับมาก 2. คะแนนทักษะไทยแลนด์ 4.0 ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย โดยรวมนักศึกษามีทักษะในระดับดี  เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อพบว่านักศึกษามีทักษะในระดับดีมาก 6 ทักษะ ระดับดี 3 ทักษะ และระดับพอใช้ 1 ทักษะ  3. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 9 ข้อ และระดับมาก 3 ข้อ

References

กนกวรรณ วังมณี. (2563). การพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายด้วยโปรแกรมการฝึกอบรมจิตสาธารณะ. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(3), 1 - 20.

กฤตธี วงศ์สถิต. (2560). 7 องค์ประกอบหลักสูตรโรงเรียนผลิตภาพ. ในไพฑูรย์ สินลารัตน์ (บรรณาธิการ), โรงเรียน 4.0 : โรงเรียนผลิตภาพ (45-58). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครุศาสตร์ มธบ.

ขวัญข้าว ตะติยรัตน์. (2564). การพัฒนาแบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร กลุ่มทักษะกำกับตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

ชุติกานต์ เอี่ยวเล็ก และอรทัย อนุรักษ์วัฒนะ. (2565). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนโดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 20(1), 257 - 273.

ดิเรก พรสีมา. (2559). ครูไทย 4.0. มติชนออนไลน์. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 14 ตุลาคม 2563, จาก https://www.matichon. co.th/news/345042.

เดโช แขน้ำแก้ว, เชษฐา มุหะหมัด, จิตติมา ดำรงวัฒนะ, ดำรงพันธ์ ใจห้าววีระพงศ์ และบุญยิ่ง ประทุม. (2564). คุณลักษณะด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและรับผิดชอบของบัณฑิตพัฒนาชุมชนที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ระหว่างปี พ.ศ. 2557-2561. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(12), 110 - 122.

ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2559). การศึกษาไทย 4.0 ในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ประชุมวายุภักษ์โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์แจ้งวัฒนะ.

นันทนา วงษ์อินทร์. (2543). การพัฒนาอารมณ์. หนังสือรวมบทความทางวิชาการเรื่องอีคิว. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

นิวัฒน์ สาระขันธ์. (2564). สอนอย่างไรให้นักเรียนเกิดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(4), 202-218.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2563). รวมทักษะในการแก้ไขปัญหา. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.popticles.com/business/top-problem-solving-skils/.

พงศธร มหาวิจิตร. (2560). นวัตกรรมการเรียนรู้จากฟินแลนด์. นิตยสาร สสวท., 45(209), 40-45.

พงศธร มหาวิจิตร. (2562). การประยุกต์ใช้แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบเชิงรุกในรายวิชาการประถมศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 42(2) (เมษายน–มิถุนายน 2562), 73-90.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพรทิพย์ แข็งขัน. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2560). ทักษะ 7 C ของครู 4.0. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. ศูนย์ตำราและเอกสารวิชาการ วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ยุทธสิทธิ จันทร์คูเมือง, พูนสิน ประคํามินทร์, ศศิธร วงศ์ซาลี, อัมพร กุลาเพ็ญ, วราภรณ์ สาโรจน์ และกรกนก นวล. (2562). การพัฒนาครูภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(1), 104 - 117.

ยืน ภู่วรวรรณ. (2558). นวัตกรรมการเรียนการสอนกับการศึกษาระบบ 4.0. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 9(2), 133-156.

เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2563). Phenomenon-based Learning: การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 22 ตุลาคม 2563, จาก https://thepotential.org/knowledge/phenomenon-based-learning/.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : อาร์ แอนด์ เอ็น ปริ้นท์ จำกัด.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2558). การโค้ชเพื่อการรู้คิด. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์. ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้, กรุงเทพมหานคร.

วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์ และลำไย สีหามาตย์. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตบัณฑิตศึกษา. วารสารราชพฤกษ์, 20(1), 116 – 127.

ศตวรรษ มะละแซม. (2563). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะตามแนวคิดการเรียนรู้รับใช้สังคมและการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศศิณัฎฐ์ สรรคบุรานุรักษ์. (2563). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงด้วยการสอนแบบปรากฎการณ์เป็นฐาน รูปแบบการเรียนรู้จากประเทศฟินแลนด์. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 13(1), 61-81.

ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์. (2559). รายงานชุดการปฏิรูประบบบุคลากรครู: ข้อเสนอการสร้างและคัดเลือกครูสอนดีรุ่นใหม่สู่การยกระดับคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ.

ศักดิ์ชาย เพชรช่วย. (2558). อนาคตภาพการผลิตครูของสถาบันอุดมศึกษาไทย. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ปกป้อง จันวิทย์ ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ ภาวิน ศิริประภานุกูลภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ศุภณัฎฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์. (2556). การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ.

สุพรรณิการ์ ศรีสุวรรณ และศศิลักษณ์ ขยันกิจ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพของครูกับเด็กและพฤติกรรมเสริมสร้างสังคมของเด็กวัยอนุบาล. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 10(1), 498 - 512.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). แนวคิดเกี่ยวกับประทศไทย 4.0. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 12 มีนาคม 2563, จาก http://planning2.mju.ac.th/government/20111119104835_planning/Doc_25590823143652_358135.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2565). Digital literacy คืออะไร. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 21 มีนาคม 2565, จาก https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). ฝึกทักษะ EF พัฒนาสมองลูกน้อย. กรุงเทพฯ: SOOK PUBLISHING.

สำเนา หมื่นแจ่ม. (2555). “องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูง”. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 13(2), 54 - 69.

อนุสรณ์ นามประดิษฐ์. (2560). 7 วิธีการวัดและประเมินผลโรงเรียนผลิตภาพ. ในไพฑูรย์ สิลารัตน์ (บรรณาธิการ), โรงเรียน 4.0: โรงเรียนผลิตภาพ (105-112). กรุงเทพฯ : วิทยาลัยครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับการศึกษายุค 4.0. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 35(3), 102-135.

อเนก เทียนบูชา (2559). หลักสูตรระดับอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นสมรรถนะ. วารสารจันทรเกษม, 22(43), 33-47.

อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561). การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อการสร้างมุมมองแบบองค์รวมและการเข้าถึงโลกแห่งความจริงของผู้เรียน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์, 46(2), 348 – 365.

เอมอร กฤษณะรังสรรค์. (2563). ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 24 มีนาคม 2563, จาก https://www.novabizz.com/NovaAce/Relationship/Skill.htm.

ฤตินันท์ สมุทร์ทัย (2556). การวิจัยนำร่องการพัฒนาหลักสูตรการผลิตครูสำหรับศตวรรษที่ 21. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Claudia, C. (2014). The Role of Extracurricular Activities and Their Impact on Learning Process. (Online). Retrieved from http://steconomiceuoradea.ro/volume/2014/.pdf.

Couros, G. (2015). The Innovator’s Mindset. CA: Dave Burgess Consulting, Inc.

Garrison, K.C. (1954). Educational Psychology. New York: Appleton.

Harmer, J. (2007). The Practiceof English Language Teaching. 4th ed. London. Pearson Longman.

Ingersoll, R.M., (Eds.). (2007). A comparative study of teacher preparation and qualifications in six nations. PA, Philadelphia: Consortium for Policy Research in Education.

JISC. (2006). Designing spaces for effective learning: A guide to 21 century learning space design. (Online). Retrieved from http://www.jisc.ac.uk/media/documents/publications/llearningspaces.pdf.

Lonka, K., Hietajavi, L., Moisala, M., Tuominen-Soini, H., & Vaara, J. (2015). Innovative schools: Teaching & learning in digital era. (Online). Retrieved from http://www.europarl.europa.eu/thinktank/en/document. html?reference=IPOL_STU (2015)563389.

Papert, S. (1993). Mindstorms: Children, Computers, and Powerful Ideas, Basic Books. Harper Collins Publishers, Inc., New York, 2nd ed.

Silander, P. (2015). Phenomenon Based Learning. Retrieved from http://www.phenomenoleducation.info/

phenomenon-based-learning.html

Stopsky, F. (2016). Towards the Fourth Revolution in Education. XLIBRIS.

SEAMEO INNOTECH. (2010). Teaching competency standards in Southeast Asian Countries. (Online). Retrieved from http://seameo-innotech.org.

Simon, H.A. (1996). “Observations on the sciences of science learning, Paper Prepared for the Committee on Developments in the Science of Learning for the Sciences of Science Learning: An Interdisciplinary Discussion.” Doctor of Philosophy Thesis, Carnegie Mellon University.

Symeonidis, V. & Schwarz, J.F. (2016). Phenomenon-Based Teaching and Learning through the Pedagogical Lenses of Phenomenology: The Recent Curriculum Reform in Finland. Forum Oświatowe, 28(2), 31-47.

Thorsteinsson, G. (2013). Ideation training via innovation education to improve students’ ethical maturation and social responsibility. Journal on Education Psychology, 6(4), 1-7.

Urbinner. (2021). Maslow's Hierarchy of Need. Retrieved from https://www.urbinner.com/post/maslow-hierarchy-of-needs.

Valamis. A. (2019). Phenomenon-based Learning. (Online). Retrieved from https://www.valamis.com/hub/ phenomenon-based-learning.

Vidovic, V.V. & Velkovski, Z. (2013). Teaching profession for the 21st Century: Advancing Teacher Professionalism for Inclusive, Quality and Relevant Education-ATEPIE. Belgrade: UNESCO Centre for Education Policy.

Wade, C. (1995). Using writing to develop and assess critical thinking. Teaching of Psychology, 22(1), 24-28.

Wagner, T. (2012). Creating innovators: The making of young people who will change the world. NY: Scribner.

World Economic Forum. (2016). The 10 skills you need to thrive in the Fourth Industrial Revolution. (Online). Retrieved from https://www.weforum.org/agenda/2016/01/the-10 skills-you need-to-thrive-inthe-fourth-industrial-revolution.

Zao, Y. (2012). World class learners: Educating creative and entrepreneurial students. California: Cowin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-25 — Updated on 2023-06-30

Versions