This is an outdated version published on 2023-06-25. Read the most recent version.

ความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

ผู้แต่ง

  • ปาณัท ธนรัช และภิรดา ชัยรัตน์ -

คำสำคัญ:

กระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล, ความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงาน, บุคลากรมหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขนเพื่อเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลกับความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ บุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน                        ค่าวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

             ผลการวิจัย พบว่าบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน มีความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล ภาพรวมในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขนที่มีเพศ อายุ สถานภาพสมรส ประสบการณ์ทำงาน และตำแหน่งงานแตกต่างกันมีความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่กระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลไม่สัมพันธ์กับความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

References

กรรณิการ์ วิขัมภประหาร. (2539). การศึกษาความต้องการในการพัฒนาตนเองของข้าราชการในมหาวิทยาลัยขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กองการเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2563). สถิติบุคลากรรายเดือน ประจำปี พ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2564, จาก http://www.person.ku.ac.th/new_personweb/stat.php.

ชนัญญา มาพุทธ. (2557). ความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 10(1), 116-128.

ณัฐกุล ภูกลาง. (2562). การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(2), 101-110.

นวลละออง อุทามนตร และรชยา อินทนนท์. (2558). การพัฒนาบุคลากร กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(1), 25-67.

พงศ์สิทธิ์ พราหมณ์ชื่น. (2556). คู่มือการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการในกรมสรรพากร. กรุงเทพฯ: กรมสรรพากร.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2564). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี พ.ศ. 2556-2560. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2564, จาก http://www.person.ku.ac.th/training/training/2556/s-plan56-60.pdf.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2565). ข้อมูลหน่วยงานมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2565, จาก http://www.ku.ac.th/.

วันทนา เนาว์วัน. (2548). การพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม. พระนครศรีอยุธยา: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ศศิวิมล ทุมวัน. (2560). ปัจจัยเชิงการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความผูกพันในองค์การของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 2, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา แนวคิด ทฤษฎี และบทบัญญัติทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง.วารสารทางวิชาการ Veridian E-Journal, 7(3), 6.

สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์. (2549). การบริหารทรัพยากรมนุษย์: หลักการและแนวคิด. กรุงเทพฯ: เวิลด์เทรดประเทศไทย.

เสาวลักษณ์ สุขวิรัช. (2549). ทางสองแพร่งของจริยธรรมการบริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

อนุธิดา ปินคำ. (2559). การศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์และบุคลากรวิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ. บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาระบบสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยพายัพ.

อรปวีณ์ จุลัยยานนท์. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Alqahtani, M., & Ayentimi, D.T. (2020). The Development o HR Practices in Saudi Arabian Public Universites: Exploringtensions and Challenges. Asia Pacific Management Review. 26, 86-94.

Alshibli, A.S. (2017). The Impact of Selective Human Resources Management Practices on the Employee's Competences at Jordanian Private Universities. Case Study on Applied Science, Philadelphia and Al-zaytoneh Universities. IUG Journal of Economics and Business. 27(1), 20-41.

Fedorova, A., & Ponomareva, O. (2017). Developing University HR Potential as The Basis for its Intellectual Capital. Russia: Ural Federal University.

Harun, S., & Shahid, S.A.M. (2021). The Public University Administrators Retention Factors: A Preliminary Analysis. Global Business and Management Research: An International Journal, 13(4), 117-126.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.) New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-25

Versions