การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น “เกษตรอัจฉริยะฟาร์มหอมขจร” สำหรับเด็กและยุวเกษตรกร โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น, เกษตรอัจฉริยะฟาร์มหอมขจร, เด็กและยุวเกษตรกรบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น “เกษตรอัจฉริยะฟาร์มหอมขจร” เพื่อพัฒนาทักษะอนาคต สำหรับเด็กและยุวเกษตรกรในโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จังหวัดสุพรรณบุรี และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรท้องถิ่น “เกษตรอัจฉริยะฟาร์มหอมขจร” เพื่อพัฒนาทักษะอนาคตสำหรับเด็กและยุวเกษตรกรในโรงเรียน สาธิตละอออุทิศ จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 3-5 ปี ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยหน่วยการสุ่มระดับห้องเรียน จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งมีนักเรียนทั้งสิ้น จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบทดสอบและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบค่า t และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า เด็กและยุวเกษตรกรที่ได้รับการจัดกิจกรรมพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เกษตรอัจฉริยะฟาร์มหอมขจร มีทักษะอนาคตและเกิดประสิทธิผลของหลักสูตรหลังการทดลองสูงขึ้นกว่าการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กรมวิชาการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและ
พัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)
นิตยา สุวรรณศรี. (2545). หลักสูตรสู่การเรียนรู้. คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ปวันนพัสตร์ ศรีทรงเมือง และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือนปลูกพืชโดยใช้
คอมพิวเตอร์แบบฝัง. คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาระบบสารสนเทศ
ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตฤกษ์. (2565). ทักษะแห่งอนาคตใหม่การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ.
เส้นทางเศรษฐีออนไลน์. (2563). เศรษฐีออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2564, จาก
https://www.sentangsedtee.com.
Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory and Practice. New York : Harcourt, Brace and
World.