การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) เสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
-
คำสำคัญ:
ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, วิธีการแบบเปิด, กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) เสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู กลุ่มเป้าหมายเป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 7 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำแนกเป็น 3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก จำนวน9 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติการ ได้แก่ แบบบันทึกผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน และแบบทดสอบท้ายวงจรปฏิบัติการ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.79 การวิจัยในครั้งนี้ แบ่งเป็น 3 วงจรปฏิบัติการ นำข้อมูลที่ได้มาสะท้อนผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ
ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน คือ กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) เสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยามี 4 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ ขั้นที่ 1 การนำเสนอสถานการณ์ปัญหาปลายเปิด ขั้นที่ 2 การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ขั้นที่ 3 การนำเสนอ อภิปรายและเปรียบเทียบแนวคิดของนักเรียนในชั้นเรียน และขั้นที่ 4 การร่วมกันสรุปด้วยการเชื่อมโยงแนวคิด
การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน และพบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีค่าเท่ากับ 79.14 คิดเป็นร้อยละ 87.94 และส่วนเบี่ยงมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 6.31 ซึ่งนักเรียนทุกคนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มากกว่าร้อยละ 75
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง
ประเทศไทย.
จุฑามาศ มาตยะขันธ์. (2562). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการแก้ปัญหาของโพลยา
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2544). กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้การแก้ปัญหาปลายเปิด สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาวิทยาศาตรศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภัทราพร เกษสังข์. (2559). การวิจัยปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มณีญา สุราช. (2558). การวัดและประเมินผลการศึกษา. อุดรธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2557). กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน Process of Problem Solving in School
Mathematics. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ยาใจ พงษ์บริบูรณ์. (2537). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 17(2),
–15.
ยุพิน พิพิธกุล. (2545). การเรียนการสอนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
รอฮานี ปูตะ. (2561). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับการศึกษาชั้นเรียนที่มีต่อความสามารถใน
การแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วรรณภา ต่อติด. (2556). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหา
ความรู้ 5 ขั้น ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ระดับชั้นมัธยมศึกษาบีที่ 2.
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:
-คิว มีเดีย.
_______. (2560). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: 3-คิวมีเดีย.
_______. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สุดาทิพย์ หาญเชิงชัย. (2552). การตั้งคำถามของครูที่ใช้วิธีการแบบเปิดในชั้นเรียนคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Stale: Victoria Deakin University.
Perdikaris, S.C. (1993). Applications of argotic chains to problem solving. International Journal of
Mathematical Education in Science and Technology, 24(3), 423-427.
Polya, G. (1957). How to solve It. A new aspect of mathematical method. Garden City, New York:
Doubleday company.
_______. (1973). How to solve It. A new aspect of mathemnatical method. Garden City, New York:
Doubleday company.
Wilson, J. W., Fernandez, M. L., & Hadaway, N. (1993). Mathematical problem solving in research ideas for
the Classroom: High School Mathematics. New York: Macmillan Publish Company.