ศักยภาพชุมชนในการจัดการประสบการณ์การท่องเที่ยวบนฐานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ของอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ภฤศสร ฤทธิมนตรี ซีมิค ปุณยวีร์ ศรีรัตน์, ประนอม การชะนันท์ และศราวัสดี นวกัณห์วรกุล -

คำสำคัญ:

ศักยภาพชุมชน , ประสบการณ์การท่องเที่ยว , มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพชุมชนในการจัดการประสบการณ์การท่องเที่ยวบนฐานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้านเรื่องเล่า และตำนานของอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม ได้แก่ ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน และคณะนักวิจัย จำนวน 9 คน และผู้ให้ข้อมูลหลักจากภาคชุมชน ภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคเอกชน จำนวน 22 คน โดยใช้วิธีการเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินศักยภาพชุมชน และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

                   ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนมีศักยภาพในการจัดประสบการณ์การท่องเที่ยวบนฐานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีศักยภาพด้านการมีส่วนร่วมและเครือข่ายภาคี และศักยภาพด้านองค์กรชุมชนและการบริหารจัดการ อยู่ในระดับมาก ในขณะที่ศักยภาพด้านกิจกรรรมและการเรียนรู้ และศักยภาพด้านพื้นที่และทรัพยากรการท่องเที่ยว อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การท่องเที่ยวของชุมชน คือ เชื่อมโยงเรื่องเล่า ตำนาน กับประวัติศาสตร์ชุมชนและพัฒนาเป็นกิจกรรมเพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยว จัดทำเรื่องเล่า ตำนาน พัฒนาทักษะการถ่ายทอดแก่คนในชุมชน และประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชนให้มากขึ้น

References

กรมการท่องเที่ยว. (2561). มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐาปกรณ์ ทองคำนุช, เบญจพร เชื้อผึ้ง และธาริดา สกุลรัตน์. (2565). แนวทางสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวเพื่อชิมกาแฟ

ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(3), 190-206.

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(2), 25-46.

ทิพย์สุวรรณ แซ่ลี. (2561). รูปแบบเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เหมาะสมของชุมชนบ้านอาลึ และชุมชนบ้าน

อ้อมแก้ว จังหวัดสุรินทร์. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

นัขนลิน อินทนุพัฒน์. (มีนาคม - เมษายน 2563). ศักยภาพชุมชนเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนกรณีศึกษาชุมชนอ่าง

เก็บน้ำลำพอก จังหวัดสุรินทร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(2), 62-73.

ปิยวรรณ ไทยเกิด. (2560). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเมืองเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. คณะการจัดการการท่องเที่ยว ศูนย์ภูเก็ต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ประนอม การชะนันท์. (2563). รายงานการศึกษาวิจัยการพัฒนาขีดความสามารถด้านการจัดการท่องเที่ยวเพื่อสร้างศักยภาพ

การจัดการตนเองของชุมชนอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช.

งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัย

แห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

พูนทรัพย์ เศษศรี และสุจิตรา ริมดุสิต. (2566). ศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนอย่างยั่งยืนของตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 19(4), 40-49.

เมษ์ธาวิน พลโยธี สุธาธิณี หนูเนียม สุวิชาดา สกุลวานิชเจริญ. (2565). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่าง

ยั่งยืน กรณีศึกษา ชุมชนไทดำ บ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารวิชาการการ

ท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 18(1), 1-25.

ยุทธ ไกยวรรณ์ และ กมลพรรณ ไกยวรรณ์. (2562). ระเบียบวิธีวิจัยทางด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิเชียร มันแหล่, พงษ์จันทร์ คล้ายอุดม, สุกัญญา ไหมเครือแก้ว, เบญจวรรณ คงขน, พัชณิยา เอกเพชร, ปุณยวีร์ ศรีรัตน์, สุนันทา คันธานันท์, ทวีสินธุ์ ตั้งเซ่ง และนิชาวดี ตานีเห็ง. (2564). รายงานวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานการเรียนรู้ภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นชุมชนในอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏและภาคี โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562.

ศศิชา หมดมลทิล. (2562). ท่องเที่ยวโดยชุมชน วิถีสู่ความยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2566, จาก

https://www.gsbresearch.or.th/wp-content/uploads/2019/10/GR_report_travel_detail.pdf

สุดถนอม ตันเจริญ. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนบางขันแตก

จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13 (2), 1–24.

Hair, J. F. Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E. & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis.

(6th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29