การพัฒนาระบบการบริหารจัดการการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ชนัญพัทธ์ โปธามูล สิรินทร์นิชา ปัญจอริยะกุล และศศิพินต์ สุขบุญพันธ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่

คำสำคัญ:

บริหารจัดการศึกษา, นักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของระบบการบริหารจัดการนักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ 2) พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษานักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่  3) ประเมินระบบการบริหารจัดการศึกษานักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ คือ ผู้บริหาร 5 คน ครูที่สอนนักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ จำนวน 20 คน นักศึกษาพิการเรียนร่วมในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ จำนวน 9 คน และผู้ปกครองนักศึกษาพิการเรียนร่วมในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ จำนวน 9 คน รวม 43 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน และ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและประเด็นในการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา  

            ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของระบบการบริหารจัดการศึกษานักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระบบการบริหารจัดการศึกษานักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 หลักการ  ส่วนที่ 2 ปัจจัยนําเข้า (Inputs) ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านครูและบุคลากร ด้านการมีส่วนร่วม ด้านเครื่องมือ และ ด้านระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ส่วนที่ 3 กระบวนการ ส่วนที่ 4 ผลผลิต ได้แก่ ผู้เรียนฉลาดรู้  ผู้เรียนอยู่ดีมีสุข ผู้เรียนมีความสามารถ  ผู้เรียนใส่ใจสังคม การยืนหยัดสิทธิตนเอง และ การตัดสินใจด้วยตนเอง ส่วนที่ 5 ผลย้อนกลับ (Feedback) และ ส่วนที่ 6 สภาพแวดล้อม 3) ผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของระบบการบริหารจัดการศึกษานักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษภาพรวมมีความเป็นไปได้มากที่สุด

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ, (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

พงษ์ธร วชิระปราการพงษ์, (2562). การจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร .วารสารนักบริหาร, 32(2), 216-222.

ปกรณ์ กิตติ์ ม่วงประสิทธิ์. (2563). กระบวนการบริหารโรงเรียนที่จัดการศึกษา สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมสังกัดสำนักบริหารการศึกษาพิเศษโดยใช้โครงสร้างซีท. วารสารบัณฑิตวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 9 (1), 93-113.

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่, (2565). แผนพัฒนาการจัดการศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ พ.ศ. 2565-2569. งานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, (2550). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก,น. 15

รัฐณีรนุช นามแก้ว. (2565). การศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวมและการเรียนรู้ทางสังคม-อารมณ์ สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ . วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, 9(2), 162-171.

สมฤดี พละวุฑิโฒทัย, (2566). การบริหารจัดการการศึกษาพิเศษในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(4), 34-47.

สุจิรา อัมรักเลิศ, (2566). การบริหารจัดการการศึกษาพิเศษในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ, 6(1), 91-92.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29