หนังสือแบบเรียน “NEW PRACTICAL CHINESE READER” ในมุมมองการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศและความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนเพื่ออุตสาหกรรมบริการ

Research article

ผู้แต่ง

  • นิธิเมธ เมธาภิวัชร์ คณะศิลปศาสตร์

คำสำคัญ:

การสอนภาษาจีน, หนังสือแบบเรียน NEW PRACTICAL CHINESE READER, ความพึงพอใจของนักศึกษา, อุตสาหกรรมบริการ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีเพื่อ 1) วิเคราะห์การใช้หนังสือเรียน "NEW PRACTICAL CHINESE READER" ในการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ รวมถึงปัจจัยที่ทำให้หนังสือเรียนนี้มีความโดดเด่น 2) ศึกษาความพึงพอใจและความต้องการของนักศึกษาในการใช้หนังสือเรียนดังกล่าวและเพื่อเป็นแนวทางในการเลือกหนังสือแบบเรียนภาษาจีน ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน โดยใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรตัวอย่าง 23 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling) และวิเคราะห์ผลด้วยค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน                    

            ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสือเรียน "NEW PRACTICAL CHINESE READER" มีโครงสร้างและเนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ เนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่พื้นฐานถึงระดับสูง มีการจัดเรียงไวยากรณ์และคำศัพท์อย่างเป็นระบบ ทำให้ง่ายต่อการเรียนรู้ 2) ปัจจัยที่ทำให้หนังสือเรียนนี้โดดเด่น ได้แก่ ความหลากหลายของหัวเรื่อง การนำเสนอเนื้อหาที่เข้าใจง่าย และการสอดแทรกวัฒนธรรมจีนในบทเรียนการประเมินความพึงพอใจพบว่า 1) นักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมในระดับสูงที่สุด โดยเฉพาะในด้านหัวเรื่อง (ค่าเฉลี่ย = 4.04) 2) ด้านเนื้อหา (ค่าเฉลี่ย = 3.98) 3) ด้านคำศัพท์ (ค่าเฉลี่ย = 3.89) 4) ด้านไวยากรณ์ (ค่าเฉลี่ย = 3.84) และ 5) ด้านการสื่อสาร (ค่าเฉลี่ย = 3.83) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าหนังสือเรียน "NEW PRACTICAL CHINESE READER" ตอบสนองความต้องการของนักศึกษาได้ดีเยี่ยมในทุกด้าน ทำให้นักศึกษามีความพึงพอใจและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

References

ทรรศนีย์ โมรา และนิธิเมธ เมธาภิวัชร์. (2562). หนังสือเเบบเรียน“BOYA CHINESE”ในมุมมองการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศและความพึงพอใจของผู้ใช้หนังสือแบบเรียนเล่มนี้. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts).

Byram, M. (1997). การสอนและการประเมินความสามารถในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม. สำนักพิมพ์ Multilingual Matters.

Chen, J. (2006) .The Status Quo of Chinese Teaching in Thailand.World of Chinese Teaching journal.

Dornyei, Z. (2001). กลยุทธ์ในการกระตุ้นในห้องเรียนภาษา. สำนักพิมพ์ Cambridge University Press.

Ellis, R. (2003). การเรียนรู้และการสอนภาษาผ่านการทำงานเป็นฐาน. สำนักพิมพ์ Oxford University Press. Kramsch, C. (1993). บริบทและวัฒนธรรมในการสอนภาษา. สำนักพิมพ์ Oxford University Press.

Krashen, S. D. (1982). หลักการและการปฏิบัติในการเรียนรู้ภาษาที่สอง. สำนักพิมพ์ Pergamon Press. Lewis, M. (1993). แนวทางเชิงคำศัพท์: สถานะของการสอนภาษาอังกฤษและทางไปข้างหน้า. สำนักพิมพ์ Language Teaching Publications.

Liu, B. (2013).The Combined with task learning of Chinese minor in Thai university. Master's Thesis. Shandong University.

Liu, X. (2010). New practical Chinese reader. Beijing Language and Culture University Press.

Nation, I. S. P., & Macalister, J. (2010). การออกแบบหลักสูตรภาษา. สำนักพิมพ์ Routledge.

Pan, J. (2021). Analysis of the Use of "NEW PRACTICAL CHINESE READER" in Teaching Chinese as a Foreign Language. Journal of Language Teaching and Research, 2, 1-15.

Richards, J. C. (2001). การพัฒนาหลักสูตรในการสอนภาษา. สำนักพิมพ์ Cambridge University Press. Vygotsky, L. S. (1978). จิตในสังคม: การพัฒนากระบวนการทางจิตวิทยาระดับสูง. สำนักพิมพ์ Harvard University Press.

Supidchaya, A. (2021) A STUDY OF VERB-OBJECT PAIRS IN A CHINESE TEXTBOOK FOR FOREIGNERS: A CASE STUDY OF NEW PRACTICAL CHINESE READER TEXTBOOK, International Chinese Language Teaching Journal: Krirk University.

Wang, Y. (2012). Based on the scaffolding method, the teaching design of Chinese minor in Thai University.Master's thesis. Shandong University.

Wu, Z. (2014). Chinese Teaching as Chinese as a second Language------Chinese Teaching Skill. Foreign Language and research Press published:Beijing, China.

Wu, W. (2023). THE USE OF MULTIPLE ATTRIBUTIVES IN MODERN CHINESE IN CHINESE TEXTBOOKS FOR TEACHING CHINESE AS A FOREIGN LANGUAGE—TAKING “HAN YU JIAO CHENG” AND “NEW PRACTICAL CHINESE READER” AS SAMPLES, Chinese Journal of Social Science and Management, China.

Xu, H. (2012). Investigation and Teaching Enlightenment of Thai Students' Chinese Learning Strategies School of Literature, Southwest University.

Yan, G. (2013).Characteristics of Functional Law in Teaching Chinese as a Foreign Language”. Language Application Research journal.

Yan, H. (2013). Communication-oriented Language Teaching: Theory and Practice. Language Teaching Journal, 36, 25-45.

Zhang, N. (2011). A Comparative Study between New Practical Chinese Reader and Boya Chinese. Master's Thesis. Central China Normal University.

Zhao, J. (2014). Review and Re-recognition of Teaching Chinese as a Foreign Language . Center for Teaching Chinese as a Foreign Language, Beijing Language and Culture University: World of Chinese Teaching journal.

Zhou, X. (2009).Introduction to Teaching Chinese as a foreign language.Commercial Press published:Guangzhou, China.

Zhou, X. (2009). Cross-Cultural Communication and Language Learning. Beijing: Peking University Press.

Zhu, Y. (2015). Cultural Adaptation and Communication in Language Learning. Shanghai: Shanghai Foreign Language Education Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29