ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่กับการละเมิดทางแพ่ง
คำสำคัญ:
ละเมิด, เจ้าหน้าที่, ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง, ความรับผิดบทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 กับหลักเกณฑ์ความรับผิดทางละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยศึกษาจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และบทความทางวิชาการ ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 กำหนดให้เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดทางละเมิด จะต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่หรือส่วนตัว
หากเป็นการกระทำละเมิดที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติหน้าที่ ย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ที่ได้วางหลักในเรื่องเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดแตกต่างไปจากเรื่องละเมิดที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ถ้าเป็นการละเมิดที่เกิดขึ้นส่วนตัว หรือมิได้เกิดขึ้นในการปฏิบัติหน้าที่ย่อมต้องเป็นไปตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นจากการที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการกระทำการตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำลง กรณีนี้ผู้เสียหายจะไม่สามารถฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรงได้ แต่ต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นสังกัด หน่วยงานของรัฐจึงต้องรับภาระชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการกระทำละเมิดไปก่อน แล้วจึงไปไล่เบี้ยเอากับเจ้าหน้าที่ในภายหลัง โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องรับผิดทางละเมิดเฉพาะเมื่อเป็นการจงใจให้เกิดความเสียหาย หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น และให้แบ่งแยกความรับผิดของแต่ละคน โดยไม่ใช้หลักลูกหนี้ร่วม ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของรัฐ
References
กรกสิวัฒน์ เกษมศรี. (2564). นโยบายว่าด้วยอำนาจอธิปไตยถาวรเหนือทรัพยากรธรรมชาติ กรณี ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ในการจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมของประเทศไทย. วารสารการเมืองการบริหารและกฎหมาย, 13(1), 287-310.
คณพล จันทน์หอม. (2561). การป้องกันและปราบปรามการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ. วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย, 10(1), 87-111.
ชนากานต์ วงศ์รัตนวรรณ. (2565). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ศึกษากรณีการใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายและการใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนคืนจากหน่วยงานของรัฐ. (ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร.
ชลินทรา ปรางค์ทอง. (2565). การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มเพศหลากหลายและการคุ้มครองสิทธิเพศหลากหลายในหน่วยงานภาครัฐ : ศึกษากรณีข้าราชการกรมการปกครอง. (ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
ฐิติพร ลิ้มแหลมทอง. (2548). การแบ่งแยกความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่จากการปฏิบัติหน้าที่และมิใช่การปฏิบัติหน้าที่. ดุลพาห, 52(2).
ตรีเพชร์ จิตรมหึมา. (2562). วิเคราะห์ปัญหาบางประการในกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิด ต่อหน่วยงานของรัฐตามที่กำหนดไว้ ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติ เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 17(1), 201-221.
ตรีเพชร์ จิตรมหึมา, พัชณา จิตรมหึมา และณัฐภณ อันชัน. (2564). ปัญหาความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ศึกษาและพิเคราะห์การแยกความรับผิดทางละเมิด กรณีการปฏิบัติหน้าที่กับกรณีที่มิใช่การปฏิบัติหน้าที่. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 16(57), 54-64.
ปนัดดา รักษาแก้ว. (2565). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(5), 444-458.
ประวีณ์ธิดา จารุนิล. (2567). ปัญหาการบังคับทางปกครองให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน: ในกรณีความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่. วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์, 13(1), 269-308.
พระมหากันตินันท์ กนุตลีโล (เฮงสกุล) และคณะ. (2567). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ : กลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบราชการสู่รัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย. วารสารวิจัยนวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยี, 2(2), 40-53.
พิเชษฐ พิณทอง. (2554). การใช้อำนาจหน้าที่เกินขอบเขตของตำรวจ : ผลกระทบด้านสิทธิมนุาญ๙ฯ. วารสารกระบวนการยุติธรรม, 4(1), 33-46.
มนตรี สังข์ทอง. (2567). ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ : แนวคิด หลักเกณฑ์ และขั้นตอนการปฏิบัติ. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 6(2), 577-591.
สรรพสิทธิ์ ชมภูนุช และกัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2564). การทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: เงื่อนไขและการป้องกัน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(10), 423-440.
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. (2563). คู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.
สุภัทรา ปกาสิทธิ์ วโรตม์สิกขดิตถ์. (2560). บทวิเคราะห์นโยบายและสถานการณ์ด้านกระบวนการยุติธรรม เพื่อจัดทำกรอบวิจัยด้านกระบวนการยุติธรรม. วารสารกระบวนการยุติธรรม, 10(3), 1-20.
สุภาวดี ประภาการ, ตรีเพชร์ จิตรมหึมา และสำเรียง เมฆเกรียงไกร. (2567). วิเคราะห์ปัญหาตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539. วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์, 8(1), 91-124.
อนุชา จินดาวณิชย์. (2551). แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่. กรุงทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
อนุชา จินดาวณิชย์. (2567). การแก้ไขบรรเทาความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการละเมิดต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง. วารสารนวัตกรรมทางธุรกิจและสังคม, 1(2), 1-15.
อภิชาติ พานสุวรรณ และพระมหาบุญรอด มหาวีโร (สืบด้วง). (2564). ปัญหาการทุจริตคอรัปชันในระบบราชการ. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(8), 479-492.
อุดม นันตา. (2559). การขอรับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่. (ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.