ปัจจัยอิทธิพลที่มีผลต่อการทำนายความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1

ผู้แต่ง

  • วีระวัฒน์ พิณโท, สุนทร กุมรีจิต, พิศิษฐ ขาวจันทร์, ศุภกิจ จันทร์ตรี และทัศนีย์ แก้วงาม -

คำสำคัญ:

ปัจจัยความสำเร็จ, คุณภาพการศึกษาโรงเรียน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนอาจต้องอาศัยหลากหลายปัจจัยหากแต่สิ่งสำคัญต้องได้รับการพัฒนาคุณภาพสอดคล้องไปกับสภาพที่เป็นจริงของแต่ละโรงเรียน และด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยได้ไปรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 จำนวน 219 คน และนำกลับมาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลวิจัยพบว่าปัจจัยความสำเร็จด้านความพร้อมของผู้บริหารสถานศึกษามีผลต่อการทำนายคุณภาพการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 และมีคะแนนมาตรฐานที่ .45 รวมถึงอิทธิพลพยากรณ์ของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียน .27 กับทักษะการเรียนรู้นักเรียน .22 โดยทั้งสามปัจจัยมีสัมประสิทธิ์ถดถอย R2 .63 ผลกระทบจากปัจจัยอื่นร้อยละ 37 กับมีความคลาดเคลื่อนสะสม .25 มีความสามารถในการอธิบายความแปรปรวนร่วมกันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 ค่า F = 126,08 Sig. 000 รวมถึงมีผลทดสอบค่า Durbin-Watson ที่ 1.51 แปลผลได้ว่าความคลาดเคลื่อนตัวแปรเหตุเป็นอิสระต่อกัน และจากสมการพยากรณ์นำไปสู่แนวทางสำหรับการพัฒนาปัจจัยความสำเร็จให้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาโรงเรียนได้ 3 แนวทางประกอบด้วย 1) แนวทางการพัฒนาความพร้อมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียน และ 3) แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้นักเรียน โดยแต่ละแนวทางมีข้อพึ่งนำไปลงมือปฏิบัติต่างกัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ.2566-2570), สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กัญญ์สิริ จันทร์เจริญ. (2554). บทที่ 5 การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง. สืบค้นจาก

https://www.ict.up.ac.th/surinthips/ResearchMethodology_2554....PDF

ณัฐสรัลพร อดิศิริอิทธิกร และวิรัสพัชร วงศ์วัฒนฌกษม. (2564). บทบาทผู้บริหารในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1, NMCCON, 326-337.

ประสพชัย พสุนนท์. (2557). ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในงานวิจัยเชิงปริมาณ, วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 27(1), 144-163.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2565). ทักษะการเรียนรู้และพัฒนา ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้. สืบค้นจาก http://www.curriculumandlearning.com/upload/Books

วีระศักดิ์ จินารัตน์. (2564). ระเบียบวิธีวิจัยสมัยใหม่, พิมพ์ครั้งที่ 1; อุบลราชธานี, ยงสวัสดิ์ อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด.

วีระศักดิ์ จินารัตน์. (2564). มาตรฐานงานวิจัยเชิงปริมาณและการพัฒนา, พิมพ์ครั้งที่ 1; อุบลราชธานี, ยงสวัสดิ์

อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด.

วสศ. (2566). สตาร์ทอัพฝรั่งเศส Beyond education ชวนรู้จักทักษะเพื่ออยู่รอดในศตวรรษที่ 21, https://research.eef.or.th/beyond-education/

วารุณี ลภันโชติ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลและพัฒนาการของระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากผลการประเมินคุณภาพภายนอกทั้งสามรอบของสมศ. สืบค้นจาก

http://www.onesqa.or.th/upload/download/202103231503005.pdf

วัชรินทร์ ยศรุ่งโรจน์ และณรงค์ศักดิ์ จันทร์นวล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33, พิฆเนศวร, 13(1), 97-115.

สทศ. (2554). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องตามกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553, กระทรวงศึกษาธิการ.

สมยศ ยอดปราง. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา, วารสารราชนครินทร์, 187-195.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2559). การพัฒนาแบบสอบถามและการวัดทางจิตวิทยา, วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 3(1), 35-48.

สุพรรณ ฟู่เจริญ. (2557). อคติที่พบบ่อยในการวิจัย, วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 26(1), 1-4.

เสมอ สุวรรณโค ธีระวุฒิ เอกะกุล และสมคิด สร้อยน้ำ. (2558). รูปแบบเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการของโรงเรียนระดับประถมศึกษา, วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(2), 128-137.

อาภามาส นิโกรดา และนพดล เจนอักษร. (2562). การจัดการความรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา, วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 525-538.

Chomduan, N., & Sichomphoo, C. (2022). The model of educational quality development for small schools in Chat Trakan district Phitsanulok province, Journal of Roi Kaensarn Academic, 7(1), 103-115.

Enable survey. (2022). การสุ่มตัวอย่างคืออะไร. สืบค้นจาก https://www.enablesurvey.com/article-detail/

Intaramanee, S. (2019). School management in digital era, UMT Journal, 16(1), 353-360.

Jaiplume, K., Chantarangsi, N., Charoenron, A,, Nikote, R., & Boonloy, W. (2021). Knowledge management to development the school to learning organization, Journal of MCU Nakhondhat, 8(6), 46-60.

Jinarat, P. (2022). The relationship between educational management and teaching and learning management that affects, learning outcomes according to expectations and needs of the new generation gen y and gen z, UMT research.

Narawong, K., Wongyai, W., Chaisuwan, S., & Chuachom, S. (2017). A guideline for development factors affecting of education quality management of the secondary school in the lower Northeastern region, NRRU Community Research Journal, 11(3), 40-52.

Sawangboon, T., Chanchusakun, S., & Varasunun, P. (2017). Development of external evaluation utilization model for improve quality of small basic education schools in the Northeastern of Thailand, Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 2405-2419.

Soommat, S., Runcharoen, T., & Teeasna. (2015). The educational managing model of student quality development in small schools of Kalasin primary educational service area 3, Rommayasan, 13(3), 163-178.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28