ลักษณะทางจิตและสถานการณ์ทางการเรียน ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยภาครัฐ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • พรรณี ทรงศิริ สำนักงานเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
  • อังศินันท์ อินทรกำแหง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร 10110

คำสำคัญ:

ลักษณะทางจิต, สถานการณ์ทางการเรียน, การเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน, นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยภาครัฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน ระหว่างนักศึกษาระดับบัณฑิต

ศึกษาที่มีลักษณะทางชีวสังคมต่างกัน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางจิตและสถานการณ์ทางการเรียนกับการเรียนรู้

แบบวิจัยเป็นฐาน 3) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางจิต และสถานการณ์ทางการเรียนที่ส่งผลต่อการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน

ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และ 4) ค้นหาปัจจัยที่สำคัญและอำนาจการทำนายการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐานของนักศึกษาระดับ

บัณฑิตศึกษาทั้งในด้านรวมและ 2 ด้านย่อย ที่มีลักษณะทางชีวสังคมต่างกัน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบสองขั้นตอน จำนวน 408 คน

มาจากมหาวิทยาลัยกลุ่ม ค1 สถาบันที่เน้นระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 195 คน และมหาวิทยาลัยกลุ่ม ง สถาบันที่เน้นการวิจัยขั้นสูง

และผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษาโดยเฉพาะระดับปริญญาเอกจำนวน 213 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบวัดประเภทมาตรประเมินรวมค่า

6 ระดับ จำนวน 9 แบบวัด แบบวัดมีค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟาอยู่ระหว่าง .72 ถึง .90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา

สถิติทดสอบที (Independent t – test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 2 ทาง และ

การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้น ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาที่มีเพศ อายุ ระดับปริญญาที่กำลังศึกษา กลุ่มมหาวิทยาลัย

ต่างกันมีการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐานแตกต่างกัน และนักศึกษากลุ่มสาขาวิชาต่างกันมีการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน ไม่แตกต่างกัน

2) ลักษณะทางจิต ได้แก่ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความคิดสร้างสรรค์ เจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้แบบวิจัย

เป็นฐาน และการรับรู้ความสามารถของตนในการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน สถานการณ์ทางการเรียน ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบ

วิจัยเป็นฐานของอาจารย์ ความพร้อมของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย สัมพันธภาพกับเพื่อน มีความสัมพันธ์ทางบวก

กับการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน โดยตัวแปรที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐานมากที่สุด คือ

การรับรู้ความสามารถของตนในการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน รองลงมาคือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน

3) ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนและสัมพันธภาพกับเพื่อน ที่มีผลต่อการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐานทั้งในด้านรวม

และด้านย่อย 2 ด้าน (ได้แก่ ผู้เรียนใช้ผลการวิจัยในการเรียนรู้ และผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้) แต่พบว่าการเรียนรู้แบบ

วิจัยเป็นฐานทั้งในด้านรวมและด้านย่อย 2 ด้าน แปรปรวนไปตามตัวแปรอิสระทีละตัวแปรอย่างเด่นชัด 4) ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่าง

แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และความพร้อมของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย ที่มีต่อการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐานทั้งในด้านรวม

และด้านย่อย 2 ด้าน (ได้แก่ ผู้เรียนใช้ผลการวิจัยในการเรียนรู้ และผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้) แต่พบว่าการเรียนรู้แบบ

วิจัยเป็นฐานทั้งในด้านรวมและด้านย่อย 2 ด้าน แปรปรวนไปตามตัวแปรอิสระทีละตัวแปรอย่างเด่นชัด 5) ตัวทำนายร่วม 8 ตัวแปร

สามารถทำนายการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐานในด้านรวม ด้านผู้เรียนใช้ผลการวิจัยในการเรียนรู้ และด้านผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยใน

การเรียนรู้ ได้ 57.7%, 33.6% และ 54.0% ตามลำดับในกลุ่มรวม โดยตัวทำนายสำคัญ คือ การรับรู้ความสามารถของตนในการเรียน

รู้แบบวิจัยเป็นฐาน ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2015-01-22

ฉบับ

บท

บทความวิจัย