การวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำแบบแยกส่วนสองชั้นของเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ในประเทศไทย พ.ศ.2538-2558

Main Article Content

Nattapon Sang-arun

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ได้วิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ของประเทศไทยในช่วง ปี พ.ศ.2538-2558 ด้วยการใช้เทคนิควิเคราะห์แบบแยกส่วนสองชั้น เพื่อแยกการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำออกเป็น 3 ระดับ ตามโครงสร้างเชิงพื้นที่ ได้แก่ ความเหลื่อมล้ำระหว่างภาค ความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มจังหวัด และความเหลื่อมล้ำภายในกลุ่มจังหวัด จากการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำดังกล่าว พบว่า ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเชิงพื้นที่มีแนวโน้มที่ลดลง โดยเฉพาะภายหลังปี พ.ศ.2550 โดยเป็นผลสำคัญจากการลดลงของความเหลื่อมล้ำระหว่างภาค อย่างไรก็ตาม ความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มจังหวัดกลับเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหมายความว่า แม้ในภาพรวมความเหลื่อมล้ำระดับประเทศจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ได้ซ่อนความเหลื่อมล้ำอีกประเภทหนึ่งไว้ ซึ่งสะท้อนภาพของการกระจุกตัวของการพัฒนาเชิงพื้นที่ สถานการณ์ดังกล่าว ยังพบได้ในระดับความเหลื่อมล้ำภายในกลุ่ม ดังนั้น นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ในระยะต่อไป จึงควรเน้นการพัฒนาเชิงลึกในระดับกลุ่มจังหวัดและจังหวัด ด้วยนโยบายการพัฒนาที่เป็นการเฉพาะตามศักยภาพและเชื่อมโยงการพัฒนาเชิงพื้นที่เข้ากับการพัฒนาด้านอื่น ๆ 

Article Details

How to Cite
Sang-arun, N. (2018). การวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำแบบแยกส่วนสองชั้นของเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ในประเทศไทย พ.ศ.2538-2558. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 38(3), 92–105. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/utccjournalhs/article/view/158037
บท
บทความวิชาการ

References

Akita, T. (2003). Decomposing regional income inequality in China and Indonesia using two-stage
nested theil decomposition method. Annals of Regional Science, 37, 55-77.

Chansarn, S. (2012). Situation regarding poverty and income inequality in Thailand. Executive Journal, 32(1), 3-10.
(in Thai).

Jitsuchon, S. (2015). Inequality in Thai society: Trend, policy and policy implementation. Bangkok, Thailand: Thailand Development Research Institute. (in Thai).

Kmonwatananisa, N. (2008). Thailand’s management of regional and spatial development. Bangkok, Thailand: Office of National Economic and Social Development Board.

Limpanonda, S. (2012). Provincial disparities in Thailand: Convergence, agglomeration economies and effects on poverty, 1988‐2008. London, United Kingdom: University of London.

Marquez, M. A., & Lasarte, E. (2014). Decomposition of regional income inequality and neighborhood component: A spatial theil Index. Valencia, Spain: Valencian Institute of Economic Research.

Office of National Economic and Social Development Board. (2017). Analytical report on poverty and inequality situations in Thailand. Bangkok, Thailand: Author. (in Thai).

Preechametta, A. (Ed.). (2016). Regional inequality in Thailand. Bangkok, Thailand: Thammasat University Printing House.

Ratanawaraha, A. (2009). Spatial inequality in Thailand, 1981 – 2005: Discussion paper 2009-1. Bangkok, Thailand: Chulalongkorn University, Faculty of Architecture, Department of Urban and Regional Planning. (in Thai).

Sarntisart, I. (2000). Growth, structural change and inequality: The experience of Thailand. Helsinki, Finland: UNU World Institute for Development Economic Research.

Tinakorn, P. (2002). Income inequality in four decades of development: 1961–2001. Thammasat Economic Journal, 20(2–3), 141–208. (in Thai).

Wisaweisun, N. (2009). Spatial disparities in Thailand: Does government policy aggravate or alleviate the problem?. In Reshaping economic geography in East Asia (pp. 184–194). Washington, DC: The World Bank.

Wongniyomkaset, W. (2014). Policy formulation for the purpose of decreasing spatial inequality. King Prajadhipok’s Institute Journal, 12(2), 31–51. (in Thai).