ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผล ต่อประสิทธิผลในการบริหารจัดการที่ดีของ สมาคมการค้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารจัดการที่ดี 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารจัดการที่ดีของสมาคมการค้า กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการ สมาชิก และเจ้าหน้าที่ของสมาคมการค้า จำนวน 260 คน และสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานคณะผู้วิจัยใช้ดัชนีชี้วัดความกลมกลืน ประกอบด้วย ค่าไค-สแควร์ (χ2) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ค่าประมาณความคลาดเคลื่อนของรากกำลังสองเฉลี่ย (RMSEA) และค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ (CFI) จากการวิเคราะห์ดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัย ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารจัดการที่ดีของสมาคมการค้ากระทรวงพาณิชย์พบว่า ค่า χ2 มีค่า 386.86 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value เท่ากับ 0.00 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (χ2/df) ค่า CFI, GFI, ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) และค่า RMSEA มีค่าเท่ากับ 6.45, 0.94,
0.81, 0.72 และ 0.145 ตามลำดับ ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ทุกค่า และผลหลังปรับโมเดลเพื่อให้ได้ค่าที่สอดคล้องกับข้อมูล พบว่า ค่า χ2 มีค่าเท่ากับ 39.98 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value เท่ากับ 0.25 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์(χ2/df) เท่ากับ 1.14 และ ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ซึ่งผ่านเกณฑ์ทุกค่า เมื่อพิจารณาประสิทธิผลในการบริหารจัดการที่ดี พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารจัดการที่ดี ได้แก่ ด้านคุณธรรมจริยธรรมมากที่สุดรองลงมา ได้แก่ ด้านความโปร่งใสและด้านการมีส่วนร่วม
Article Details
ลิขสิทธิ์ของบทความ
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ห้ามมิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลงานไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยก่อน
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
ธินิตา ฐิติภากร. (2546). การศึกษาเปรียบเทียบความโปร่งใสการบริหารงานของพนักงานเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์).
มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2545). ธรรมาภิบาลในองค์กรอิสระ: เอกสารประกอบคำบรรยาย 8 มิถุนายน 2545.กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
พิเศษ ปั้นรัตน์. (2554). การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สรวิชญ์ เปรมชื่น. (2558). คุณภาพงานในการบริหารงานระบบราชการไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมประกันคุณภาพแห่งประเทศไทย.
สันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์. (2551). สาระสำคัญของการมีส่วนร่วมของบุคลากร. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์.
สุรัตน์ ฉันทะนิ. (2557). ปัจจัยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(2),
159-173.
Browne, M. W., & Cudeck, R. (1993). Alternative ways of assessing model fit. In K. A. Bollen & J. S. Long (Eds.), Testing structural equation models (pp. 136-162). Newbury Park, CA:
Sage.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). New York: Pearson.
McGill, M. E., & Slocum, J. W., Jr. (1994). The smarter organization: How to build a business that learns and adapts to marketplace needs. New York: Wiley.
Robbins, S. P. (1994). Essentials of organizational behavior (4th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice–Hall.