รูปแบบและพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่ไร้ความเร่งรีบของรักท่องเที่ยวผู้สูงอายุในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย

Main Article Content

Narin Sungrugsa
Supaporn Plomelersee
Theerangkoon Warabamrurngkul

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรม ทัศนคติ แรงจูงใจ และความต้องการการท่องเที่ยวที่ไร้ความเร่งรีบของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุในภุฒิภาคตะวันตกของประเทศไทย 2) วิเคราะห์รูปแบบแรงจูงใจที่ไร้ความเร่งรีบของนักท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุในภูมิภาคตะวันตก และ 3) เสนอแนะแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวที่ไร้ความเร่งรีบในภูมิภาคตะวันตก โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฎิบัติการ (Action Research) ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม คือ แบบสอบถามการรับรองรูปแบบ แนวทางการสัมภาษณ์ระดับลึก และแนวทางการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้โปรแกรมสถิติคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปและการวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง้บนมาตรฐาน t-test, F-test, LSD. และ Pearson's product-moment Correlation coeffcient ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทยและชาวต่างประเทศได้รับข้อมูลในการท่องเที่ยวจากอินเตอร์เน็ต ร้อยละ 43.50 วัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อน/ท่องเที่ยว ร้อยละ 78.00 เดินทางมาท่องเที่ยวกับเพื่อน ร้อยละ 46.25 ระยะเวลาที่ใช้ในการท่องเที่ยวมากกว่า 5-7 วัน ร้อยละ75.73 จำนวนครั้งที่มาท่องเที่ยวในภาคตะวันตก 4 จังหวัด 1 ครั้ง ร้อยละ 44.80 การเดินทางมาท่องเที่ยวกับเพื่อน ๆ ร้อยละ 43.25 ลักษณะการท่องเที่ยวเป็นแบบพักมนภาคตะวันตก 4 จังหวัด ร้อยละ 86.25 ลักษณะของการพักมากกว่า 3 วัน ร้อย 67.00 ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวต่อวันรวมทุกอย่างแล้ว มากกว่า 5000 บาท ร้อยละ 46.00 2) รูปแบบแรงจูงใจในการท่องเที่ยวที่ไร้ความเร่งรีบของนักเที่ยวผู้สูงอายุ เรียกว่า "I2O2T2A2 Model" และผ่านการรับรองรูแปยยฯ 3) แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวที่ไร้ความเร่งรีบ คือ (1) สำหรับภาครัฐ : การจัดการการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ การจัดสิ่งอำนววยความสะดวกให้ผู้สูงอายุ พัฒนาคุณภาพการบริการ ความประทับใจ และปลอดภัยในการท่องเที่ยว (2) สำหรับภาคเอกชน : มีความเป็นธรรรมไม่เอาเปรียบพัฒนาการบริการการท่องเที่ยว จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ (3) สำหรับชุมชนและท้องถิ่น : การดูแลสถานที่ท่องเที่ยว สนับสนุนกรท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ 

Article Details

How to Cite
Sungrugsa, N., Plomelersee, S., & Warabamrurngkul, T. (2019). รูปแบบและพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่ไร้ความเร่งรีบของรักท่องเที่ยวผู้สูงอายุในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 36(2), 1–19. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/utccjournalhs/article/view/185316
บท
บทความวิจัย

References

Bai, B., et al. 2001. “Determinants of Travel Mode Choice of Senior Travelers to the United States.” Journal of Hospitality & Leisure Marketing 8,3 : 147-168.

Batra, A. 2009. “Senior Pleasure Tourists: Examination of their Demography, Travel Experience, and Travel Behavior Upon Visiting the Bangkok Metropolis.” International Journal of Hospitality & Tourism Administration 10,3 : 197-212.

Bovee, C. I. , Houston, Michael J., and Thill, J. V. 1995. Marketing 2nd e.d. New York : McGraw-Hill.

Goeldner, Charles R., and Ritchie,J. R. Brent. 2006. Tourism : Principles, Practice, Philosophies. 10th ed. Hoboken, NJ : Wiley.

Keeves, P. J. 1988. Educational Research, Methodology, and Measurement : An International Handbook. Oxford : Pergamon Press.

Lee, S. H., and Tideswell, C. 2005. “Understanding Attitudes towards Leisure Travel and the Constraints Faced by Senior Koreans.” Journal of Vacation Marketing 11,3 : 249-264.

Panompai, Prapapun,Tipsri, Vasana, and Chusee, Rachean 2006 The Report Attitude of Foreign Tourist towards Reception of Chiang Rai. Bangkok : Thailand Research Fund.

ประภาพร พนมไพร, วาสนา ทิพย์ศรี และราเชนทร์ ชูศรี. 2549. รายงานการวิจัย ทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวต่างประทศที่มีต่อการต้อนรับของชาวเชียงราย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Srisomyong, Nion. 2009 “A Survey of Foreign Tourists Attitude towards Decision to Travel in the Provinces Struck by Tsunami in Thailand.” Master’s Thesis, University of the Thai Chamber of Commerce.

นิออน ศรีสมยง. 2552 “การสำรวจทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการตัดสินใจไปท่องเที่ยวในจังหวัดภาคใต้ที่ประสบภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนานิ” วิทยานิพนธ์ปรัชญามหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Sungrugsa, Narin,Rattanapongpinyo, Thaninrat and Pawongsa, Phakamas. 2015 “The Competency in Marketing Competitive Advantage of Stakeholders Development Model Related to Cultural Tourism along the Ways of Creative Economy among Four Dvaravati Provinces to Support ASEAN.” University of the Thai Chamber of Commerce 35, 1 : 22-38. (in Thai).

นรินทร์ สังข์รักษา, ธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ และผกามาศ พะวงษ์. 2558 “การพัฒนารูปแบบขีดความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดของผู้เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในกลุ่มทวารวดี 4 จังหวัดเพื่อรองรับประชาคม อาเซียน.” วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 35, 1 : 22-38.

Thaisom Rungtip, Charoenkijjarukon Pataapong, and Raksakaew, Achira. 2012 “Promoting Community Based Tourism Management for Sustainable.” University of the Thai Chamber of Commerce 32, 2 : 27-48.(in Thai).

รุ่งทิพย์ ไทยสม, ภัทรพงศ์ เจริญกิจจารุกร และอชิรา รักษาแก้ว. 2555. “การส่งเสริมศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของภาคกลางตอนล่างเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน.” วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 32, 2 : 27-48.