ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของ SMEs ไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของไทย และระดับอิทธิพลของปัจจัยต่างๆเหล่านั้นที่มีผลต่อการตัดสินใจจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โดยมีการใช้วิธีการศึกษาในรูปแบบของการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) อันประกอบด้วยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่มีการรวบรวมข้อมูลจากการทบทวนเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 28 ตัวอย่าง แบ่งเป็นกลุ่มที่มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล รวมทั้งแยกเป็นกลุ่มธุรกิจเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ที่มีการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการ SMEs ไทย จำนวน 402 ตัวอย่าง โดยวิธี Stratified sampling และทำการการวิเคราะห์สถิติเชิงอ้างอิง (Inferential Statistics ) โดยการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) และปัจจัยเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) ผลของการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมีจำนวนทั้งสิ้น 54 ตัวแปร ซึ่งจะเป็นตัวแปรสังเกตในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เมื่อทำการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยวิธีองค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) สามารถสกัดปัจจัยได้ทั้งสิ้น 12 ปัจจัย 23 ตัวแปรสังเกต และเมื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า มีปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเพียง 8 ปัจจัย 19 ตัวแปรสังเกต ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ปัจจัยทางด้านของสิทธิประโยชน์จากภาครัฐ รองลงมาได้แก่ ปัจจัยด้านความต้องการเพิ่ม/ขยายการลงทุน และปัจจัยด้านการลดค่าใช้จ่าย
Article Details
ลิขสิทธิ์ของบทความ
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ห้ามมิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลงานไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยก่อน
References
Beauducel, A., and Wittmann, W. 2005. “Simulation Study on Fit Indices in Confirmatory Factor Analysis Based on Data with Slightly Distorted Simple Structure.” Structural Equation Modeling 12,1: 41–75.
Boontim, Napalai. 2011. “The Attitude Management Accounting of Entrepreneurs for Corporate Firms in Phetchabun.” Nakhon Sawan Rajabhat Journal 1,1: 66-73. (in Thai).
นภาลัย บุญทิม.2554. “ทัศนคติในการจัดทำบัญชีของผู้ประกอบการสำหรับธุรกิจนิติบุคคลในจังหวัดเพชรบูรณ์.” วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ 1,1: 66-73.
Chulasai,Chonakan.2011. “Knowledge and Understanding of Accountants in Chiang Mai Province on Corporate Income Tax Laws.” Master’s independent study, Graduate School, Chiang Mai University.(in Thai).
ชนากานต์ จุลาสัย.2554. “ความรู้ความเข้าใจของผู้ทำบัญชีในจังหวัดเชียงใหม่ ในกฎหมายภาษีเงินได้นิติบุคคล.” การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Hair, J.F., et al.2010. Multivariate Data Analysis. 7th ed. Upper Saddle River, NJ :Prentice Hall.
Hu, L., and Bentler, P. M. 1999. “Cutoff Criteria for Fit Indexes in Covariance Structure Analysis: Conventional Criteria Versus New Alternatives.” Structural Equation Modeling 6: 1–55.
Khankhaeng, Surachai.2014. “Knowledge and Understanding of Small and Medium Enterprise Entrepreneurs in Bangkok Towards Accounting Preparation.” Master’s independent study, Graduate School, Chiang Mai University.(in Thai).
สุรชัย ขันแขง.2557. “ความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการจัดทำบัญชี.” การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Loo, R., and Thorpe, K. 2000. “Confirmatory Factor Analyses of the Full and Short Versions of the Marlowe-Crowne Social Desirability Scale.” Journal of Social Psychology 140: 628-635.
Rianglaem, Oranut.2004. “Another Factor that Makes the Business Does Not Endorse the Research and Development of Technologies for Corporate Income Tax Exemption.” Master’s independent study, Graduate School, University of the Thai Chamber of Commerce. (in Thai).
อรนุช เรียงแหลม.2547. “ปัญหาที่ทำให้ธุรกิจไม่ขอรับการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อขอยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล.” การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
Sakulsriprasert, Chaiyun.2013. “Confirmatory Factor Analysis.” Journal of Clinical Psychology 44,1. Available: https://www.thaiclinicpsy.org/index.php/2015-04-04-04-21-05/2015-04-04-04-33-31/category/24-44-2556-1(in Thai).
ไชยันต์ สกุลศรีประเสริฐ.2556. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน.”วารสารจิตวิทยาคลินิก 44,1. เข้าถึงจาก: https://www.thaiclinicpsy.org/index.php/2015-04-04-04-21-05/2015-04-04-04-33-31/category/24-44-2556-1
Srikanchama, Atchara, et al. 2014. “The Problems in Corporate Income Tax,Vat, and Withholding Income Tax of Contractor Business In Rayong.” Burapha University Journal 9,1 :121-133. (in Thai).
อัจฉรา ศรีขันชะมา และคณะ.2557. “ปัญหาทางด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ของธุรกิจการให้บริการรับเหมาเฉพาะอย่างในเขตจังหวัดระยอง.” วารสารวิทยาลัยพาณิชย์บูรพาปริทัศน์ 9,1: 121-133
Thailand. Department of Business Development.2015a. Corporate Guide [Online]. Available: https://www.dbd.go.th/download/goodgov_file/ebook5812/DBD_eBooks.pdf (in Thai).
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า.2558ก. คู่มือนิติบุคคล [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: https://www.dbd.go.th/download/goodgov_file/ebook5812/DBD_eBooks.pdf
Thailand. Department of Business Development.2015b.Statistics of Company Registration, February 2015 [Online]. Available: https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2558/H26_201502.pdf (in Thai).
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า.2558ข. ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล เดือนกุมภาพันธ์ 2558 [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2558/H26_201502.pdf
Thailand.Fiscal Policy Office.2015. Revenue Collection of the Government [Online]. Available: https://www.fpo.go.th/FPO/index2.phpmod=Content&file=contentview&contentID=CNT0006829&categoryID=CAT0001183(in Thai).
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง.2558. ผลการจัดเก็บรายได้ภาครัฐบาล [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: https://www.fpo.go.th/FPO/index2.php?mod=Content&file=contentview&contentID=CNT0006829&categoryID=CAT0001183
Thailand.Office of Small and Medium Enterprises Promotion.2014. Thailand’s SME White Paper in 2014[Online]. Available: https://www.sme.go.th/th/images/data/SR/download/2014/08aug/SMEs_all_ORcode.pdf(in Thai).
สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม .2557. รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2557 [ออนไลน์].เข้าถึงจาก: https://www.sme.go.th/th/images/data/SR/download/2014/08aug/SMEs_all_ORcode.pdf
Tunsrl, Konwit, et al. 2014. “Financial Access for Small and Medium Enterprises (SMEs) in the Northeastern Region.” University of The Thai Chamber of Commerce Journal 34,3: 1-19 .(in Thai).
กรวิทย์ ต้นศรี และคณะ.2557. “แนวทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.” วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 34,3 : 1-19.
Wirojcharoenwong, Wanpheng, Rattanasiriwongwut, Montean, and Tiantong, Monchai.2013. “A Explorator Factor Analysis Of Computer Self-Efficacy.” RMUTP Research Journal Special issue, the 5th Rajamangala University of Technology National Conference: 82-93.(in Thai).
วันเพ็ญ วิโรจน์เจริญวงศ์, มณเฑียร รัตนศิริวงศ์วุฒิ และมนต์ชัย เทียนทอง.2556. “การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจการรับรู้ความสามารถของตนเองทางด้านคอมพิวเตอร์.” วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ฉบับพิเศษ การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5 : 82-93.
Yanyongmet, Aranat.2004. “Opinion toward Corporate Income tax Payment of Sugar Manufacturers in Thailand.” Master’s independent study, Graduate School, Chiang Mai University.(in Thai).
อรนัฎ ยรรยงเมธ.2547. “ความคิดเห็นต่อการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลของโรงงานน้ำตาลในประเทศไทย.” การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.