The Art of Roti – The Space of Rohingyas: Roti and Identity Formation of Rohingya People in Thai Short Stories
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของโรตีกับการก่อรูปอัตลักษณ์โรฮิงญาในเรื่องสั้นไทย 2 เรื่อง คือ เรื่องสั้นเรื่อง “โรตีโรฮิงยา” ของสุวิชานนท์ รัตนภิมล และ เรื่องสั้นเรื่อง “คนขายโรตีที่ขี้เหร่ ที่สุดในโลก” ของ อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ ผลการศึกษาสรุปว่า เรื่องสั้นไทยได้เสนอภาพโรฮิงญาในบทบาทของการเป็นพ่อค้าโรตี และทำให้โรตีเข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญต่อการก่อรูปอัตลักษณ์และการสร้างพื้นที่ทางสังคมให้แก่ชาติพันธุ์โรฮิงญา โดยทำให้อาชีพโรตีเป็นเรื่องของการประกาศตน (profess) ผ่านความเชี่ยวชาญในการทำโรตีของชาวโรฮิงญาเพื่อสร้างการรับรู้ทางสังคมแบบใหม่ที่เชื่อมต่อกับภาคพลเมืองเป็นสำคัญ ส่งผลให้โรฮิงญาสามารถเผยตัวต่อชุมชนอย่างไม่ถูกกีดกันออกและอยู่ในภาพลักษณ์ของการเป็น คนทำมาหากินสุจริตในสังคม ที่สำคัญ โรตีได้คืนเสียงพูดให้แก่โรฮิงญาในรูปบทสนทนาขณะทำและรอโรตี ถ่ายทอดความทรงจำเจ็บปวดถึงรัฐยะไข่และแผ่นดินพม่า โรตีจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างการรับรู้ทางสังคมเกี่ยวกับโรฮิงญาให้กว้างขวางออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเป็นโรฮิงญาที่ได้เข้ามามีส่วนในสังคม ทั้งยังสามารถเลื่อนไหลและข้ามพื้นที่ไปสู่การเชื่อมต่อกับสังคมในรูปแบบอื่น ๆ อย่างน่าสนใจ
Article Details
ลิขสิทธิ์ของบทความ
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ห้ามมิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลงานไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยก่อน
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2549). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2553). ความคิดทางการเมืองของฌาคส์ ร็องซีแยร์. กรุงเทพฯ: สมมติ.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2561). อำนาจไร้พรมแดน: ภาษา วาทกรรม ชีวิตประจำวันและโลกที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: วิภาษา.
ดุลยภาค ปรีชารัชช. (2558). โรฮิงญา รัฐ ชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์ และความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ: มติชน.
ธานินทร์ สาลาม. (2558). ชาติพันธุ์กับสายสัมพันธ์ข้ามรัฐ. ใน นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ, พิเชฐ สายพันธ์, และสมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์ (บรรณาธิการ), ชาติพันธุ์ใต้อำนาจ: เสียงแห่งชาติพันธุ์ในโลกเสรีนิยมใหม่. (น.63 - 103). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
สุวิชานนท์ รัตนภิมล. (2560). รวมเรื่องสั้นสัตว์. กรุงเทพฯ: คอกม้าหิมาลัย.
อเนกชัย เรืองรัตนากร. (2562). บทบาทของอุดมการณ์ ‘พุทธศาสนา-ชาตินิยมสุดโต่ง’ กับ ความขัดแย้งระหว่างชาวพุทธยะไข่กับชาวมุสลิมโรฮิงญา. ใน ปรีดี หงษ์สตัน และอัมพร หมาดเด็น (บรรณาธิการ), ศาสนากับความรุนแรง (น.78 - 155). กรุงเทพฯ: Illuminations Editions.
อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ. (2560). รวมเรื่องสั้นบ้านเป็นที่อยู่ของคนอื่น. กรุงเทพฯ: สมมติ.