ลักษณะการปนภาษาอังกฤษที่ใช้ในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรม จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยฉบับนี้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ 4 ประเด็น ประกอบด้วย ข้อแรก วิเคราะห์ลักษณะการปนภาษา
อังกฤษที่ใช้ในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรม ข้อสอง เปรียบเทียบลักษณะการปนภาษาอังกฤษจากการฟัง
การพูด การอ่าน และการเขียนของพนักงานโรงแรม ข้อสาม ศึกษาระดับเจตคติที่มีต่อการปนภาษาอังกฤษที่
ใช้ปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรม และ ข้อสุดท้าย เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะการใช้คำปนภาษาอังกฤษของ
พนักงานโรงแรม กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานโรงแรมฝ่ายต้อนรับส่วนหน้า อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
จำนวน 50 คน การวิจัยนี้ใช้เครื่องมือหลายรูปแบบ เช่น แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง แบบสอบถามเจตคติ
ตารางวิเคราะห์ข้อความปนภาษา สถิติใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า จำนวนข้อความปนภาษามีทั้งหมด 764 ข้อความ พบมากที่สุด คือ ประโยคความเดียว 444
ข้อความ ประโยคบอกเล่า 317 ข้อความ นาม 253 นามวลี 162 คำ นอกจากนี้ พบข้อความ 132 คำ จาก
การแก้ปัญหาระหว่างปฏิบัติหน้าที่ และคำย่อ 107 คำ พบมากที่สุดในเอกสารและสมุดบันทึกการทำงาน ด้านการ
เปรียบเทียบลักษณะการปนภาษาอังกฤษ พบว่า การพูดใช้การปนภาษามากที่สุด ผลของระดับเจตคติ พบว่า
มีภาพรวมระดับมาก (X = 3.98, S.D. = 0.94) ขณะที่พนักงานโรงแรมได้เสนอแนะว่า การย่อภาษาแต่ละคำ
ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร และควรอธิบายการปนภาษาให้พนักงานใหม่
Article Details
ลิขสิทธิ์ของบทความ
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ห้ามมิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลงานไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยก่อน
References
จิราภรณ์ กาแก้ว. (2553). รายงานการวิจัย การศึกษาทัศนคติ คำ และสำนวนภาษาอังกฤษปนภาษาไทยในรายการโทรทัศน์ผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศในปัจจุบัน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชำนาญ ศุภนิตย์ และสุทิน พูลสวัสดิ์. (2558). รวมหลักไวยากรณ์อังกฤษฉบับสมบูรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธีรวิทย์ ภิโญณัฐการต์. (2554). ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษตามแนวภาษาศาสตร์. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, สาขาวิชาภาษาอังกฤษ, สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม.
นภัสสรณ์ นาคแก้ว. (2556). การปนภาษาอังกฤษในภาษาไทย: กรณีศึกษา รายการเทยเที่ยวไทย (การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
นัฐยา บุญกองแสน. (2542). การปนภาษาอังกฤษในภาษาไทยกับทัศนคติทางภาษาของบุคคลต่างชั้นอาชีพ(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
ปรารถนา กาลเนาวกุล. (2544). รายงานการวิจัยการปนภาษาอังกฤษในภาษาไทยของรายการโทรทัศน์: ลักษณะทัศนคติ การรับรู้ และแรงจูงใจ. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พรรณทิวา อินต๊ะ. (2555). การปนภาษาอังกฤษในนิตยสารภาษาไทย. พิฆเนศวร์สาร, 8(1), 33-42.
วิภา ฌานวังศะ. (2548). Beginning with the foundation. ใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สาขาวิชาศิลปศาสตร์, เอกสารการสอนชุดวิชา การเขียนภาษาอังกฤษ หน่วยที่ 1-5 (พิมพ์ครั้งที่ 11) (น. 57-68).นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศยามล ไทรหาญ. (2553). การปนภาษาอังกฤษในภาษาไทยในนิตยสารวัยรุ่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2544). หลักภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
อนุวัต ชัยเกียรติธรรม. (2561). รายงานการวิจัย การวิเคราะห์หลักการปนภาษาในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Kavaliauskienë, G. (2009). Role of mother tongue in learning English for specific purposes. ESP World, 8(1), 2-8. Retrieved from http://www.philologician.com/Articles_22/PDF/issue_22.pdf
Marzona, Y. (2017). The use of code mixing between Indonesian and English in Indonesian advertisement of GADIS. Jurnal Ilmiah Langue and Parole, 1(1), 238-248.
Neely, J. (2017, Auguse 29). Improving active listening skills at the Workplace [Weblog message].Retrieved from https://toggl.com/blog/active-listening-skills
Ransom, A. (2020). Common hospitality acronyms defined [Weblog message]. Retrieved from https://www.amadeus-hospitality.com/insight/common-hospitality-acronyms-defined/Wardhaugh, R. (1986). An introduction to Sociolinguistics. Oxford: Basil Blackwell.
Yuliyawati, S. N. & Bakhti, K. Y. (2018). The use of the Indonesian-Arabic code mixing in business names found on Jalan Cisarua Puncak, Bogor. International Journal of Language and Linguistics, 5(1), 25-37.