ปัจจัยด้านการใส่ใจสุขภาพและคุณภาพผลิตภัณฑ์ ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อชานมไข่มุกเพื่อสุขภาพ ของผู้บริโภควัยทำงานในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เอก ชุณหชัชราชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใส่ใจสุขภาพและคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อชานมไข่มุกเพื่อสุขภาพของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามปลายปิด ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ที่มีประสบการณ์การซื้อชานมไข่มุกเพื่อสุขภาพ สถิติที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนาในการแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ในการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทางประชากรศาสตร์ และใช้สถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20-30 ปี มีรายได้ระหว่าง 20,000-30,000 บาท โดยผู้ตอบแบบสอบถามตระหนักถึงสุขภาพ และชื่นชอบการดูแลสุขภาพตนเองเสมอรวมไปถึงการให้ความสำคัญกับราคาและวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์เป็นหลัก จึงส่งผลให้ ปัจจัยด้านการใส่ใจ
สุขภาพ และคุณภาพผลิตภัณฑ์ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อชานมไข่มุกเพื่อสุขภาพของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลจากงานวิจัยนี้สามารถต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ในบริบทของการศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมผู้บริโภคในวัยทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่มีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่มีต่อการเลือกซื้อเครื่องดื่มยอดนิยม “ชานมไข่มุก” ในแง่มุมของการตระหนักรู้ในด้านสุขภาพมีผลต่อการตัดสินใจซื้อชานมไข่มุกเพื่อสุขภาพของประชากรกลุ่มดังกล่าว เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจ นำมาซึ่งการพัฒนาคุณค่าของสินค้า กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด หรือ สร้างแผนธุรกิจให้สามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้บริโภคยุคปัจจุบันได้

Article Details

How to Cite
ชุณหชัชราชัย เ. . (2022). ปัจจัยด้านการใส่ใจสุขภาพและคุณภาพผลิตภัณฑ์ ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อชานมไข่มุกเพื่อสุขภาพ ของผู้บริโภควัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 42(4), 55–73. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/utccjournalhs/article/view/253162
บท
บทความวิจัย

References

กตัญญู คณิตศาตรานนท์. (2558). การรับรู้คุณภาพและการสื่อสารทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ประเภทผักออร์แกนิคของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เกอ ซ่ง. (2559). คุณภาพอาหาร คุณภาพการบริการ สภาพแวดล้อมทางกายภาพและความใส่ใจในสุขภาพที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารไทยของนักท่องเที่ยวชาวจีนในกรุงเทพมหานคร (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ไทยป่วนเบาหวานพุ่งสูงต่อเนื่อง แตะ 4.8 ล้านคน คาดถึง 5.3 ล้านคนในปี 2583. (2562, 13 พฤศจิกายน). Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. สืบค้นจาก www.hfocus.org/content/2019/11/18031

นรภัทร ยกชม. (2562). กระบวนการตัดสินใจเลือกบริโภคเครื่องดื่มชาไข ่มุกของกลุ ่มประชากรในเขต กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

นีลเส็น’ เผย “เทรนด์รักสุขภาพ” โต แนะผู้ผลิตเสนอสินค้าและบริการตอบโจทย์. (2562, 7 เมษายน). ฐานเศรษฐกิจ. สืบค้นจาก www.thansettakij.com/content/398882

ปัทมาวรรณ ลิ้มพลอยพิพัฒน์. (2564). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการรับรู้คุณค่าตราสินค้าทีส่งผลต่อพฤติกรรมการตดัสินใจซื้อชานมไข่มุกเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

พาไปดู!! เทรนด์อาหารและเครื่องดื่ม 2020. (2562, 27สิงหาคม). มติชนออนไลน์. สืบค้นจาก www.matichon. co.th/publicize/news_1644719

เมธินี ทุกข์จาก. (2559). การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การใส่ใจสุขภาพ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ ความโปร่งใสด้านราคา และ ทัศนคติต่อการซื้อที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเวย์โปรตีนของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวาย (Generation Y) ในกรุงเทพมหานคร (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (2562). อาหารเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://fic.nfi.or.th/MarketOverviewDomesticDetail. php?id=271

สรินยา อารีย์รักษ์. (2562). กระบวนการตัดสินใจบริโภคชานมไข่มุกของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง). สืบค้นจาก https://www.ru.ac.th/MMM/IS/mlw11/sec1/6014963011.pdf

สุพัตราอำนวยเกียรติ. (2559). ทัศนคติต่อสุขภาพ รูปแบบการดำเนินชีวิตและการโฆษณาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อรรถเกียรติกาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, และ สุทธิดา แก้วทา (2562). รายงานสถานการณ์โลก NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง. กลุ่มเทคโนโลยีระบาดวิทยา และมาตรการชุมชน กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

Cochran, W. G. (1953). Sampling techiques. New York, NY: Wiley

Gould, S. J. (1988). Consumer attitudes toward health and health care: A differential perspective.Journal of Consumer Affairs, 22(1), 96-118. doi:10.1111/j.1745-6606.1988.tb00215.x

Hu, C. S. (2013). A new measure for health consciousness: Development of a health consciousness conceptual model. Paper presented at the National Communication Association Annual Conference, November 2013. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/299484743_A_New_Measure_for_Health_Consciousness_Development_of_A_Health_ Consciousness_Conceptual_Mode

Kotler, P. (2003). Marketing management (11th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Kotler, P., & Keller, K. (2012). Marketing and management (14th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Nalisa. (2019). Marketing Movement. Retrieved from www.marketeeronline.co

Nisbett, R., & Wilson,T. D. (1997).Thehaloeffect:Evidence forunconscious alterationof judgments. Journal of Personality and Social Psychology, 35(4),250-256.doi:10.1037/0022-3514.35.4.250

Osterwalder, A., & Pigneur, Y. (2010). Business model generation. New York, NY: Wiley.

Rützler, H. (2022). Food Trends 2023: The Future of Food and Eating. Retrieved from https://www. zukunftsinstitut.de/artikel/food/food-trends-hanni-ruetzler-en/

Sulek, J. M., & Hensley, R. L. (2004). The relative importance of food, atmosphere, and fairness of wait. Cornell Hotel and Restaurant Administration Quarterly, 45(3), 235-247