การศึกษาปัจจัยด้านคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อเจตนาพฤติกรรม: กรณีศึกษาสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านคุณภาพการบริการที่มีผลต่อเจตนาพฤติกรรมของสมาชิกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยวหรือเรียกโดยทั่วไปว่า ATTA โดยกรอบแนวคิดในการวิจัยได้ดัดแปลงและปรับปรุงจากงานวิจัย 3 ชิ้นได้แก่งานวิจัยของ Parasuraman และคนอื่นๆ (1988); Park และคนอื่นๆ (2010) และ Zeithaml และคนอื่นๆ (1996) งานวิจัยในครั้งนี้ได้เก็บแบบสอบถามจากสมาชิก ATTA โดยแบบสอบถามประกอบด้วยคำถาม 3 ส่วนคือข้อมูลส่วนตัว คุณภาพการบริการและเจตนาพฤติกรรมและนำมาประมวลผลทางโปรแกรมทางสถิติ โดยใช้วิธีโมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model) ผลการศึกษาแสดงว่า ประสิทธิภาพของพนักงานและสภาพแวดล้อมการทำงานของสมาคมนั้น ส่งผลให้เกิดการรับรู้ด้านคุณภาพการบริการของสมาคมฯ โดยที่คุณภาพการการบริการของสมาคมส่งผลให้เกิดความจงรักภักดี และการลดอัตราความต้องการในการลาออกจากการเป็นสมาชิกภาพ ผลการวิจัยทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า คุณภาพการบริการของสมาคมฯ ก่อให้เกิดความภักดีและการลดอัตราการพ้นสมาชิก ซึ่งก่อให้เกิดสายใยความผูกพันที่ดีระหว่างสมาชิกและทางสมาคมฯ เมื่อตรวจสอบในรายละเอียด ผลวิจัยในกรอบแนวคิดแสดงให้เห็นว่า คุณภาพการบริการส่งผลให้เกิดสายใยความผูกพัน โดยที่ความพึงพอใจส่งผลในทางบวกต่อสายใยความผูกพัน อย่างไรก็ตาม ความต้องการลาจาก (ลาออกจากการเป็นสมาชิก) ส่งผลในเชิงบวกต่อสายใยความผูกพัน ผลการวิจัยทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าความจงรักภักดี (เจตนาพฤติกรรมเชิงบวก) และความต้องการลาจาก (เจตนาพฤติกรรมเชิงลบ)ส่งผลให้เกิดสายใยความผูกพัน ดังนั้น การวิจัยจึงสามารถสรุปได้ว่า สมาชิกสมาคมฯ สร้างความผูกพันกับองค์กรจากเจตนาพฤติกรรมเชิงบวกและเชิงลบ ซึ่งเจตนาพฤติกรรมเชิงลบนั้นเป็นการสร้างความผูกพันที่ไม่พึงประสงค์ เพราะเกิดจากทัศนคติ หรือความต้องการในเชิงลบของสมาชิก
Article Details
ลิขสิทธิ์ของบทความ
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ห้ามมิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลงานไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยก่อน
References
Amine, A. (1998). Consumers' true brand loyalty: The central role of commitment. Journal of Strategic Marketing, 6(4), 305-319.
Bitner, M. J., Booms, B. H., & Mohr, L. A. (1994). Critical service encounters: The employee's viewpoint. The Journal of Marketing, 58(4), 95-106.
Brady, M. K., & Cronin, J. J., Jr. (2001). Some new thoughts on conceptualizing perceived service quality: A hierarchical approach. Journal of Marketing, 65(3), 34-49.
Byrne, B. M. (2016). Structural equation modeling with AMOS: Basic concepts, applications, and programming (3rd ed.). Oxon, UK: Routledge.
Creswell, J. W. (1994). Research design: Qualitative and quantitative approaches. Thousand Oaks, CA: Sage.
Denzin, N. K., & Lincoln, Y. S. (Eds.). (2011). The Sage handbook of qualitative research (3rd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.
Grönroos, C. (1984). A service quality model and its marketing implications. European Journal of marketing, 18(4), 36-44.
Harris, M. (1998). Doing it their way: Organizational challenges for voluntary associations. Nonprofit and Voluntary Sector Quarterly, 27(2), 144-158.
Jackson, D. L. (2003). Revisiting sample size and number of parameter estimates: Some support for the N: q hypothesis. Structural Equation Modeling, 10(1), 128-141.
Kline, R. B., & Santor, D. A. (1999). Principles and practice of structural equation modelling. Canadian Psychology, 40(4), 381-383.
Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1978). Psychometric theory. New York, NY: McGraw-Hill.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.
Park, C. W., MacInnis, D. J., & Priester, J. R. (2006). Beyond attitudes: Attachment and consumer behavior. Seoul National Journal, 12(2), 3-36.
Park, C. W., MacInnis, D. J., Priester, J., Eisingerich, A. B., & Lacobucci, D. (2010). Brand attachment and brand attitude strength: Conceptual and empirical differentiation of two critical brand equity drivers. Journal of Marketing, 74(6), 1-17.
Smith, J. A. (Ed.). (2015). Qualitative psychology: A practical guide to research methods. Thousand Oaks, CA: Sage.
Stutely, R. (2014). Numbers guide: The essentials of business numeracy (6th ed.). Princeton, NJ: Bloomberg Press.
Zeithaml, V. A., Berry, L. L., & Parasuraman, A. (1996). The behavioral consequences of service quality. The Journal of Marketing, 60(2), 31-46.