แนวทางการเสริมสร้างความสำเร็จในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสมุทรสาคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ ระดับความสำเร็จในการดำเนินงาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงาน และแนวทางการเสริมสร้างความสำเร็จในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสมุทรสาคร ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นประธาน/ผู้แทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 100 กลุ่ม เครื่่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ส่วน คือ แบบสอบถาม และแนวคำถามในการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สภาพการณ์ของวิสาหกิจชุมชน ส่วนใหญ่มีสมาชิก 11-20 คน จำนวนปีที่จัดตั้ง 4-6 ปี ชนิดของผลิตภัณฑ์ 3-4 ชนิด สถานที่ตั้งของกลุ่มคือบ้านประธานกลุ่ม สถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ คือ ที่ทำการของกลุ่ม รายได้จากการจำหน่าย 100,001 – 200,000 บาท รายจ่ายในการผลิตไม่เกิน 100,000 บาท ผลกำไรไม่เกิน 30,000 บาท และไม่ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ระดับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ ประกอบด้วย ด้านกระบวนการ ด้านคณะกรรมการกลุ่ม ด้านสมาชิกกลุ่ม ด้านการเรียนรู้ และด้านเครือข่าย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ระดับความสำเร็จ ประกอบด้วย ด้านการเงิน ด้านการตลาด ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และด้านความเข้มแข็งของชุมชนภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ ปัจจัยด้านกระบวนการ ด้านคณะกรรมการกลุ่ม ด้านสมาชิกกลุ่ม ด้านการเรียนรู้ และด้านเครือข่ายมีความสัมพันธ์ในทางเดียวกับความสำเร็จ โดยปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จมากที่สุดคือ ด้านการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านสมาชิกกลุ่ม ด้านคณะกรรมการกลุ่ม และด้านเครือข่าย และทำนายระดับความสำเร็จได้ร้อยละ 67.9 ส่วนแนวทางการเสริมสร้างความสำเร็จ ประกอบด้วย การใช้วิธีการผลิตที่มีมาตรฐาน การแบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติงาน การวางแผนกลยุทธ์การตลาด การจัดสรรรายได้และสวัสดิการอย่างเหมาะสม การส่งเสริมการเรียนรู้ และการสร้างเครือข่ายกับภาครัฐและเอกชน
Article Details
ลิขสิทธิ์ของบทความ
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ห้ามมิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลงานไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยก่อน
References
Kaplan, R. S, and Norton, D.P. 1992. “The Balanced Scorecard - Measures that Drive Performance.” Harvard Business Review. 70, 1: 71-79.
Kosonkittiumporn, Saowalak. 2009. “The Development of Community Business Operational Model in Maha Sarakham Province.” Doctoral dissertation, Maha Sarakham Rajabhat University. (in Thai).
เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. 2552. “การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานของธุรกิจชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม.” วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Krejcie, R.V., and Morgan, D.W. 1970. “Determining Sample Size of Research Activities.” Education and Psychological Measurement. 30, 3: 607-610.
Maltz, A.C., Shenhar, A.J., and Reilly, R.R. 2003. “Beyond the Balanced Score Card: Refining the Search for Organizational Success Measures.” Long Range Planning. 36, 2: 187-204.
Nontakode, Panin. 2001. “Factors Influencing the Business Success of the Northern Farmers’ Housewives Groups in the Cottage Processed Food Industry.” Master’s Thesis, Nakhon Pathom Rajabhat University. (in Thai).
พนินท์ นนทโคตร. 2544. “ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จทางธุรกิจของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรภาคเหนือในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปพื้นบ้าน.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Pattaradunpitak, Rattapon. 2005. “The Development of Jute Fiber Production Career Group as A Community Enterprise: A Case Study of Ban Tokpan, Tambon Bankoh, Amphoe Muang, Khon Kaen Province.” Master’s Thesis, Khon Kaen University. (in Thai).
รัฐพล ภัทรดุลย์พิทักษ์. 2548. “การพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์จากใยปอในฐานะเป็นวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษาบ้านตอกแป้น ตำบลบ้านค้อ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Thailand. Department of Agricultural Extension. 2005. Community Enterprise Promotion Act 2005. Bangkok: Department of Document Publicity. (in Thai).
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2548. พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายเผยแพร่เอกสาร.
Thailand. Department of Agricultural Extension, SamutSakorn. 2011. Community Enterprise of SamutSakorn Province Report 2011. Samutsakorn: Department of Agricultural Extension. (in Thai).
สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสาคร. (2554). รายงานข้อมูลวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสมุทรสาคร ปี 2554. สมุทรสาคร: สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสาคร.
Thailand. Office of the National Economic and Social Development Board. 2008. Gross Regional and Provincial Product Statistics 2008. Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board. (in Thai).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2551. สถิติผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดของประเทศไทย ปี 2551. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Thongkorn, Nipa. 2005. “Factor Affecting Success according to Goals of One Tambon One Product Program of OTOP Groups in Ratchaburi Province.” Master’s Thesis, Chiang Mai University. (in Thai).
นิภา ทองก้อน. 2548. “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จตามเป้าหมายของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตสินค้า OTOP ในเขตพื้นที่จังหวัดราชบุรี.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
Sribun, Waraporn. 2009. “Factors Affecting the Success in the Operation of Entrepreneurs of One Tambon One Products (OTOP) in Songkhla Province.” Master’s Thesis, Prince of Songkla University. (in Thai).
วราภรณ์ ศรีบุญ. 2552. “ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) ในจังหวัดสงขลา.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.