ประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย : บทบาทหน้าที่ในสถานะประเพณีประดิษฐ์ภายใต้สถานการณ์โรคโควิด-19

Main Article Content

ธีรภัทร คำทิ้ง
ภาคภูมิ สุขเจริญ

บทคัดย่อ

 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของประเพณีบุญหลวงและการละเล ่นผีตาโขน
อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยในสถานการณ์โรคโควิด-19 โดยเก็บข้อมูลจากเอกสาร ตำราที่เกี่ยวข้องกับประเพณี
บุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน คำบอกเล่าของเจ้าพิธีผู้มีส่วนร่วมในการประกอบพิธีและผู้ที่ได้เข้าร่วมงาน
และการจัดงานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยในเดือนมิถุนายน
พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดประเพณีประดิษฐ์ในลักษณะการเขียนเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการ
ศึกษาพบว่า ประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขนในสถานการณ์โรคโควิด-19 มีบทบาทหน้าที่ 5 ประการ
ได้แก่ ประการแรก หน้าที่สะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขนแบบดั้งเดิม
ประการที่สอง หน้าที่แสดงถึงความกลัวและความต้องการความปลอดภัยจากโรคโควิด-19 ประการที่สาม หน้าที่
ทำให้เกิดการยอมรับแบบแผนแนวปฏิบัติของสังคม ประการที่สี่ หน้าที่ให้ความเพลิดเพลินและให้กำลังใจแก่
ผู้ร่วมงาน ประการที่ห้า หน้าที่สืบทอดและให้การศึกษาการทำเครื่องแต่งกายผีตาโขนกับคนรุ่นหลัง ซึ่งบทบาท
หน้าที่ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการปรับวิถีปฏิบัติที่ได้มีการบูรณาการให้เหมาะสมและเป็นไปตามกรอบหรือ
ข้อกำหนดของรัฐในสถานการณ์โรคโควิด-19

Article Details

How to Cite
คำทิ้ง ธ., & สุขเจริญ ภ. . (2021). ประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย : บทบาทหน้าที่ในสถานะประเพณีประดิษฐ์ภายใต้สถานการณ์โรคโควิด-19. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 41(1), 21–36. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/utccjournalhs/article/view/243533
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมเพื่อป้องกันการ

แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สำหรับประเภทกิจการและกิจกรรม กลุ่มที่ 1. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟ ฟิคแอนด์ดีไซน์.

ชาลินี บริราช. (2563, สิงหาคม). อ. ด่านซ้าย จ.เลย เทศกาลผีตาโขน ผีไทยที่ดังไกลถึงเวทีโลก. นิตยสาร Creative Thailand, 11(6), 24 – 27.

ไทยโรจน์ พวงมณี. (2554). การศึกษาอัตลักษณ์ประเพณี ผีตาโขน ประเพณี ผีขนน้ำ และประเพณีแห่ต้น

ดอกไม้: การออกแบบสร้างสรรค์ชุดการแสดง สำหรับการนำเสนอภาพลักษณ์การท่องเที่ยวจังหวัด

เลย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม, กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.

ศิราพร ณ ถลาง. (2558). ประเพณีสร้างสรรค์ในสังคมไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. (2563). ข้อมูลสถานการณ์การ

ติดเชื้อ COVID-19. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2564, จาก http://www.moicovid.com /06/01/2021/uncategorized/2362/

เอกรินทร์ พึ่งประชา. (2545). พระราหู: “ประเพณีประดิษฐ์” แห่งวัดศีรษะทอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต ไม่ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เอกรินทร์ พึ่งประชา. (2548). ผีตาโขน นิยามและความหมายเบื้องหลังหน้ากาก. วารสารดำรงวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 4(1), 110-119.