การสร้างแพลตฟอร์มความรู้ที่เอื้ออำนวยเพื่อยกระดับสู่การวิจัยระดับแถวหน้า ในสาขานิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชนในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เปิดกว้าง ยืดหยุ่นและใช้ประโยชน์ได้ง่ายในการเป็นแหล่งรวบรวม สืบค้น เผยแพร่ เชื่อมโยงข้อมูล ผลงานการวิจัยและองค์ความรู้ทางวิชาการสำหรับสาขาวิชานิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชนในประเทศไทย รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้ร่วมกันของประชาคมในการพัฒนาและทดลองใช้ต้นแบบแพลตฟอร์มดิจิทัล
การดำเนินงานในการพัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์มดิจิทัลใช้การวิจัยและพัฒนา มี 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจ สังเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการ ดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป้าหมาย คือ อาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งอยู่ในประชาคมผู้สร้างองค์ความรู้ทางนิเทศศาสตร์จากมหาวิทยาลัยด้วยวิธีการสัมภาษณ์ จำนวน 11 คน และการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 106 คน ปรากฏผลการศึกษาดังนี้ 1. สภาพปัญหาของการสร้าง เข้าถึง และเผยแพร่องค์ความรู้ของนิเทศศาสตร์ ได้แก่ 1) มหาวิทยาลัยมีอัตลักษณ์และความแตกต่างของเป้าหมายการวิจัย 2) ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญกับการสร้างระบบเครือข่ายของสาขาวิชา 3) การสร้างงานวิจัยตามโจทย์ของแหล่งทุนเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้งานฐานข้อมูล 2. ความต้องการข้อมูลและแพลตฟอร์มความรู้ พบว่า ความต้องการระดับมากที่สุด ประกอบด้วยความต้องการข้อมูลและแพลตฟอร์มความรู้ที่สามารถเป็นแหล่งรวบรวมบทความทางวิชาการในฐานข้อมูลทางวิชาการระดับชาติ (ค่าเฉลี่ย = 4.49) และฐานข้อมูลทางวิชาการระดับนานาชาติ (ค่าเฉลี่ย = 4.46) การให้รายละเอียดของการอ้างอิงผลงานทางวิชาการที่สืบค้นอย่างถูกต้องตามหลักการอ้างอิง (ค่าเฉลี่ย = 4.45) ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบพัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์ม ดำเนินการโดยออกแบบต้นแบบเว็บไซต์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่จะใช้แพลตฟอร์มตามข้อมูลในขั้นที่หนึ่ง และนำไปให้กลุ่มเป้าหมายทดลองใช้ ผลการดำเนินงานในขั้นตอนที่ 2 นี้ พบว่า จากการทดลองใช้ต้นแบบแพลตฟอร์มกลุ่มเป้าหมายเห็นถึงความสำคัญของการเป็นแหล่งสืบค้น ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ในศาสตร์นี้ และพึงพอใจในด้านรูปลักษณ์ และประสบการณ์ในการใช้แพลตฟอร์มในการค้นหา การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและข้อคิดเห็นทางวิชาการ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ของบทความ
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ห้ามมิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลงานไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยก่อน
References
พิรงรอง รามสูต, เสริมศิริ นิลดำ และ โสภาค พาณิชพาพิบูล. (2564). การสำรวจสถานการณ์ปัญหาและการพัฒนาระบบความรู้นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ และการสื่อสารมวลชนในประเทศไทย ใน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โครงการจัดทำสมุดปกขาวข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการยกระดับระบบบริหารจัดการความรู้และการปรับปรุงโครงสร้างความรู้ทางสังคมศาสตร์ของประเทศไทย (น. 240 – 322). สืบค้นจากhttp://www.cusri.chula.ac.th/wp-content/uploads/2022/12/รายงานฉบับสมบูรณ์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการยกระดับระบบบริหารจัดการความรู้.pdf
ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index). (ม.ป.ป.). เกี่ยวกับ TCI. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2564, จาก https://tci-thailand.org/
Israel, G. D. (1992). Determining Sample Size. Retrieved October 12, 2023, from https://www.psycholosphere.com/Determining%20sample%20size%20by%20Glen%20Israel.pdf
Jakubik, M. (2008). Experiencing collaborative knowledge creation processes. The Learning Organization, 15(1), 5-25. doi: 10.1108/09696470810842475
Nonaka, I. & Takeuchi, H. (1995). The knowledge creating company: How Japanese companies create the dynamics of innovation. Oxford: Oxford University Press.
Open Archive for Media, Film, and Communication Studies. (n.d.). MediArXiv FAQs. Retrieved July 2, 2021, from https://mediarxiv.com/faqs/
Open Researcher and Contributor ID. (n.d.). About ORCID. Retrieved July 2, 2021, from https://info.orcid.org/what-is-orcid/
Social Science Research Network. (n.d.). What is SSRN?. Retrieved July 2, 2021, from https://service.elsevier.com/app/answers/detail/a_id/34348/supporthub/ssrn/p/16539/
Vera, D. & Crossan, M. (2003). Organizational learning and knowledge management: Toward an integrative framework. In M. Easterby-Smith, & M. A. Lyles (Eds), The Blackwell handbook of organizational learning and knowledge management (pp. 122-142). West Sussex, UK: Blackwell.