การศึกษาความพร้อมของนักศึกษาปริญญาตรีในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 ในการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Main Article Content

กัญญาภัทร สาระคุณ สาระคุณ
พรรณทิพย์ พัฒนมาศ
ปภาภัทร แสงแก้ว
พรทิพย์ เทือกประเสริฐ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมของนักศึกษาปริญญาตรีในสังกัดสถาบันการอาชีว ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1  ในการเข้าสู่ตลาด แรงงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย นักศึกษาปริญญาตรีในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 ซึ่งมีจำนวน 10 แห่งใน 5 จังหวัด รวมทั้งหมด จำนวน 611 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 241 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบ     แบ่งชั้น (Stratified Rondom Sampling) แบ่งตามวิทยาลัยต่าง ๆ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม จำนวน 30 ข้อ ลักษณะคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) โดยวิธีการวัดระดับความพร้อมตามวิธีของลิเคิร์ทสเกล (Likert Scale) 5 หมายถึง ระดับมากที่สุด 4 หมายถึงระดับมาก  3 หมายถึงระดับปานกลาง 2 หมายถึงระดับน้อย 1 หมายถึงระดับน้อยที่สุด คำนวณค่าทางสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเชื่อมั่นของเครื่องมือที่ 0.95 วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา


         ผลการศึกษา พบว่า ความพร้อมของนักศึกษาปริญญาตรีในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 ในการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีสถานะเรียนด้วยทำงานด้วย ศึกษาอยู่ในสาขาวิชาการบัญชี สถานประกอบอาชีพ/ฝึกอาชีพอยู่ใน        ภาคเอกชน ระดับความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน พบว่า อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 81.99 ซึ่งมีความรู้มากที่สุดในเรื่องของจำนวนสมาชิกอาเซียน ระดับการให้ความรู้ของสถาบันการศึกษา พบว่า อยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ย 3.90 เมื่อเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า สถานศึกษามีการจัดการศึกษาดูงานภายใน ประเทศที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีค่าเฉลี่ย 4.26 สถานศึกษามีการจัดอบรมเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมที่จะเข้าแข่งขันในตลาดแรงงานระดับอาเซียนมีค่าเฉลี่ย 4.03 และสถานศึกษามีการจัดบอร์ดนิทรรศการให้ความรู้แก่นักศึกษาเกี่ยวกับตลาดแรงงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีค่าเฉลี่ย 3.99 และระดับความพร้อมของนักศึกษาในการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่า อยู่ในระดับมาก     มีค่าเฉลี่ย 3.87 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.90  เมื่อเรียง ลำดับจากมากไปน้อย พบว่า มีความพร้อมในการสามารถทำงานได้โดยอิสระ โดยไม่ต้องมีหัวหน้าควบคุม มีค่าเฉลี่ย 4.05 มีความพร้อมการให้เปิดตลาดเสรีแรงงานเพราะจะได้รับค่าจ้างระดับสากล มีค่าเฉลี่ย 4.03 และมีความพร้อมที่จะศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมระหว่างมหาลัยในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน ข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยครั้งต่อไป 1) ควรศึกษาความพร้อมของนักศึกษาปริญญาตรีในสังกัดสถาบัน   อื่น ๆ  2) ควรศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถาน ศึกษาที่มีต่อการพัฒนาสู่ตลาดแรงงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สถาบันการอาชีวศึกษา. (2556). ประวัติความเป็นมาของสถาบันการอาชีวศึกษา. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 มกราคม2560]. จาก http://www.ivene1.ac.th/index.php?name= page&file=page&op.
[2] สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2554). จดหมายข่าวสำนักงานคณะกรรมการอุดมการณ์ศึกษา.(HEC Newsletter) ปีที่ 2 ฉบับที่ 52 เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2560.เข้าถึงได้จาก http://www.mua. go.th/pr_web/ohcenewsletter.
[3] ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : บริษัทวี. อินเตอร์ พริ้นท์.
[4] ทัศนีย์ อัครพินท์. (2555). ทัศนคติความพร้อมของนักศึกษาวิทยาลัยราชพฤกษ์ต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมอาเซียน. รายงานการวิจัยทัศนคติความพร้อมของนักศึกษาวิทยาลัยราชพฤกษ์ต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคม อาเซียน มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
[5] นฤมล ศรีอ่อนและคณะ. (2555). การเตรียมความพร้อมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีกับการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมอาเซียน.เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2560. เข้าถึงได้จาก http://ghttp:/g-affais. ru.ac.th/document/research55.