ผลของการเสริมเส้นใยอาหารจากผงเปลือกมังคุดต่อคุณภาพทางประสาทสัมผัสของชิฟฟ่อนเค้กน้ำมังคุด

Main Article Content

นิภาพร กุลณา
กรวุฒิ มงคล
ปานสิน แก้วบุญเรือง
ณัฐพร สุยะวาณิชย์
ปรานปรียา สิทธิ์ขันแก้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมเส้นใยอาหารจากผงเปลือกมังคุดต่อคุณภาพทางประสาทสัมผัสของชิฟฟ่อนเค้กน้ำมังคุด โดยใช้ผงเปลือกมังคุดที่เตรียมได้จากเปลือกมังคุดชั้นในนำไปอบแห้ง และ บดให้ละเอียด วางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) แปรปริมาณผงเปลือกมังคุดที่ใช้เป็น 3 ระดับ คือ ร้อยละ 4.30 8.60 และ 12.90 (โดยน้ำหนักแป้งเค้ก) ต่อคุณภาพทางประสาทสัมผัสของชิฟฟ่อนเค้กน้ำมังคุด ผลการศึกษาพบว่า เมื่อปริมาณผงเปลือกมังคุดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้คะแนนความชอบในทุกคุณลักษณะทางประสาทสัมผัสลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) โดยปริมาณของผงเปลือกมังคุดที่เหมาะสมในการผลิตชิฟฟ่อนเค้กน้ำมังคุดคือ ร้อยละ 4.30 (10 กรัม) และได้รับคะแนนความชอบโดยรวมอยู่ในระดับชอบมาก (8.44) ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาได้นี้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เบญจลักษณ์ มุสิกะชะนะ, พฤติกรรมการเลือกซื้อเบเกอรี่ของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี, พ.ศ.2553, วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, ภาควิชาบริหารธุรกิจ, คณะบริหาร,มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

New Nutrition Business, Top 2016 Trends from New Nutrition Business, 2016, Available Source: http://www.fdbusiness.com/top-2016-trends-from - new-nutrition-business/, March 27, 2017.

ชนากานต์ ธิลา, เบเกอรี่, พ.ศ.2553, แหล่งที่มา : http://www.photoartcmu.com/sites/default/files/4_2.pdf, 7 กรกฎาคม 2559.

โพสทูเดย์, คนรุ่นใหม่แห่ท้าอาชีพเสริมตลาดเบเกอรีโตหมื่นล้าน, พ.ศ.2557, แหล่งที่มา : http://www.posttoday. com/biz/sme/287316, 10 กรกฎาคม 2562.

สุระเดช ไชยตอกเกย, ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยผู้ใหญ่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, พ.ศ.2558, รายงาน การวิจัย.

ยงยุทธ เสาวพฤกษ์, แนวโน้ม ‘อาหารและเครื่องดื่ม’ เพื่อสุขภาพ, พ.ศ.2561, แหล่งที่มา : https://www.prachachat. net/columns/news-268743, 10 กรกฎาคม 2562.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช, Mangosteen, พ.ศ.2562, นครศรีธรรมราช: สถาบันเกษตรและองค์กร เกษตรกร.

กุลนรี ศาสตร์ประสิทธิ์ และ กุลยา ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์, “การใช้เปลือกมังคุดเป็นแหล่งใยอาหารในโดนัทเค๊ก”. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรษตร, ปีที่ 40(3)(พิเศษ), พ.ศ.2552, หน้า 97-100.

สุรีย์ ทองกร, เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาเบเกอรี่เพื่อการค้า, พ.ศ.2546, หน้า 45-50.

รุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเกษตร/คณาจารย์ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรม เกษตร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, พ.ศ.2549.

ไพโรจน์ วิริยจารี, การประเมินทางประสาทสัมผัสคณะอุตสาหกรรมเกษตร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, พ.ศ.2545.

W.G. Cochran. Sampling Techiques. New York : John Wiley & Sons. Inc., 1953.

R.J. Patel, A. A. Patel and A. K. Singh. “Production of a protein-rich extruded snack base using tapiocastarch, sorghum flour and casein”. Food Science and Technology, 53(1),pp. 71–87, May. 2019.