การเพิ่มผลิตภาพการจัดการขนถ่ายสินค้า กรณีศึกษา บริษัท เอ.บี.ซี จำกัด

Main Article Content

สุชาดี ธำรงสุข
พนิตนาฏ ทองฉิม
อัยลดา ศรีบุญ

บทคัดย่อ

การศึกษาโครงงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการทำงานในขั้นตอนการขนถ่ายสินค้า เพื่อการจัดส่ง ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน กรณีศึกษา บริษัท เอ.บี.ซี จำกัด ใช้การระดมสองและแผนภูมิเหตุและผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยแบ่งตามประเภทของงาน เป็นสามประเภท ได้แก่ งานพาเลท งานกล่อง และงานรางยาว พบปัญหาหลักสามประการ โดยผู้ศึกษาได้ทำการทดลองแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานโดยใช้ทฤษฎีและหลักการต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1) ปัญหาการรอคอยขนถ่ายสินค้าในกระบวนการขนถ่ายสินค้า 2) ปัญหาการหาพาเลทเพื่อวางสินค้าของพนักงานคลังสินค้าประจำประตูขนถ่าย แก้ไขโดยใช้หลักการ ECRS คือ การทำงานให้ง่ายขึ้น และใช้ทฤษฎี Visual Control ในการควบคุมการทำงานด้วยหลักการในการมองเห็น 3) ปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนของขั้นตอนการตรวจสอบ และยิงเข้าระบบ แก้ไขโดยใช้หลัก ECRS และเก็บข้อมูลเวลาหลังการทดลอง เป็นจำนวน 10 ครั้ง หาเวลาเฉลี่ย เพื่อนำมาเปรียบกับเวลามาตรฐานก่อนการปรับปรุง คิดเวลาค่าเผื่อที่ 9% จากผลของการปรับปรุงขั้นตอนการทํางาน เวลารวมของกระบวนการขนถ่ายสินค้างานแต่ละประเภทลดลง คือ งานพาเลทลดลง จากเดิม 526.38 วินาที เป็น 379.23 วินาที คิดเป็นร้อยละ 27.96 สำหรับงานกล่องเวลาลดลงจากเดิม 935.70 วินาที เป็น 639.95 วินาที คิดเป็นร้อยละ 31.61 และสำหรับงานรางยาวที่ไม่ได้มีการแก้ไขปรับปรุงในกระบวนการแต่เมื่อกระบวนงานพาเลท และงานกล่องมีปรับปรุงซึ่งงานทั้ง 3 ส่วนนี้เป็นงานที่เกี่ยวข้องกัน ทำให้เวลาของรางยาวลดลงจาก 769.17 วินาที เป็น 519.27 วินาที คิดเป็นร้อยละ 32.49

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณิศร ภูนิคม. (2560). “การปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตด้วยเทคนิคการปรับปรุงงาน กรณีศึกษา : โรงงานน้าดื่มใบไผ่เขียว. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 12-15 กรกฎาคม 2560. เชียงใหม่. (150-155).

คมกริช เมืองมูล, นัดฐ์พร กาแต และมนินทรา ใจคำปัน. (2559). [วารสารออนไลน์]. “การศึกษาเวลามาตรฐานในการผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก:กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วนจำกัด เรือชนะแพ็คกิ้ง”. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต. ฉบับที่ 1 ปีที่ 6 : 107-121.

ธารชุดา พันธ์นิกุล, ดวงพร สังฆะมณี และปรีดาภรณ์ งามสง่า. (2557). “การปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตด้วยเครื่องมือวิศวกรรมอุตสาหการ กรณีศึกษา โรงงานประกอบจักรยาน.” การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2557 วันที่ 30-31 ตุลาคม 2557. สมุทรปราการ.

ธีรพงษ์ ขันทอง. (2558). [บทคัดย่อออนไลน์]. การปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจักรกรณีศึกษาสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.[สืบค้นวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563]. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5710037028_3851_2602.pdf

ปรัชภรณ์ เศรษฐเสถียร และกฤติยา เกิดผล.(2562). [วารสารออนไลน์]. “การเพิ่ประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้า”. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. ฉบับที่ 2 ปีที่ 13 : 65-72.

รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม. (2552). การศึกษางานอุตสาหกรรรม. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสำนักพิมพ์ท้อป จำกัด.วุฒิพร ศรีไพโรจน์. (2558). [บทคัดย่อออนไลน์]. การปรับปรุงกระบวนการผลิตและกำลังคนต่อสายการผลิตเพื่อลดต้นทุนแรงงาน. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรัญญา สาสมจิตต์. (2559) [บทคัดย่อออนไลน์]. การศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังวัตถุดิบ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา. [สืบค้นวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562]. จาก

http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/55920033.pdf

วรพนธ์ ชีววรนนท์ตรี, ปิยะ รนต์ละออง, ณัฐพล บุญรักษ์. (2561). วารสารออนไลน์]. “การศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหวกรณีศึกษากระบวนการทดสอบความดันระยะสั้นของท่อพีวีซีแข็ง(ท่อปลายเรียบ)”. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ฉบับที่ 1 ปีที่ 6 : 26-38.

ศุภฤกษ์ กลิ่นหม่น. (2559). [บทคัดย่อออนไลน์]. การปรับปรุงประสิทธิภาพสายการผลิตการกัดเลนส์ขึ้นรูปค่าสายตา. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. [สืบค้นวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563]. จาก http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920464.pdf

อุมารินทร์ ปิยะธำรงชัย. (2556). [บทคัดย่อออนไน์]. การออกแบบและปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการเรียกและจัดส่งวัตถุดิบสำหรับสายการประกอบมอเตอร์ใซค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์ คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา. [สืบค้นวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563]. จากhttp://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files//54920039.pdf