การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของนักเรียน นักศึกษา ในศตวรรษที่ 21 สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

วิกรม ดังก้อง

บทคัดย่อ

การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์เป็นการพัฒนาลักษณะที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนอันเป็นคุณลักษณะที่ต้องการในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึก สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ผู้วิจัยจึงสนใจทำวิจัยเรื่องการพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของนักเรียน นักศึกษา ในศตวรรษที่ 21 สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดเพชรบุรี โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของนักเรียน นักศึกษา ในศตวรรษที่ 21 สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดเพชรบุรี และ2) เพื่อวิเคราะห์ความกลมกลืนของตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของนักเรียน นักศึกษา ในศตวรรษที่ 21 สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน ในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 240 คน ตัวแปรที่ศึกษา คือ ตัวแปรแฝง 1 ตัวแปร คือ การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของนักเรียน นักศึกษา ในศตวรรษที่ 21 สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดเพชรบุรี
ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรสังเกตได้ 12 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประมานค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการตรวจสอบโมเดลการวัดองค์ประกอบการพัฒนาตัวบ่งชี้


ผลการวิจับ พบว่า


  1. ผลการสร้างตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของนักเรียน นักศึกษา ในศตวรรษที่ 21
    สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดเพชรบุรี ได้จำนวน 12 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านซื่อสัตย์สุจริต ด้านมีวินัย ด้านรักชาติศาสน์กษัตริย์
    ด้านใฝ่เรียนรู้ ด้านมุ่งมั่นในการทำงาน ด้านรักความเป็นไทย ด้านอยู่อย่างพอเพียง ด้านมีจิตสาธารณะ
    ด้านมีความรู้ในวิชาหลัก ด้านมีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ ด้านมีทักษะการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมใหม่ และด้านมีทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี

  2. ผลการวิเคราะห์ความกลมกลืนของตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของนักเรียน นักศึกษา
    ในศตวรรษที่ 21 สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดเพชรบุรี พบว่า โมเดลการวิจัยสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.30 – 0.65 เรียงลำดับค่าน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านมีความรู้ในวิชาหลัก ด้านมีทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ด้านมีทักษะการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมใหม่ ด้านรักความเป็นไทย ด้านมีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ ด้านอยู่อย่างพอเพียง ด้านมีจิตสาธารณะ ด้านใฝ่เรียนรู้ ด้านมุ่งมั่นในการทำงาน ด้านซื่อสัตย์สุจริต ด้านมีวินัย และด้านรักชาติศาสน์กษัตริย์ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.65, 0.57, 0.57, 0.50, 0.49, 0.49, 0.48, 0.46, 0.44, 0.41, 0.40 และ0.30 ตามลำดับ ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า มีค่าไค-แสควร์ c2 = 207.57, ที่องศาอิสระ (df) = 54, ค่า p - value = 0.00000, ดัชนี GFI = 0.87, ดัชนี AGFI = 0.82, ดัชนี CFI = 0.98, ค่า Standardized RMR = 0.047 (ต่ำกว่า 0.08) และค่า RMSEA = 0.109 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ค่าสถิติไค-สแควร์ไม่มีนัยสำคัญ (p £ .05) แสดงว่าโมเดลการวัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

ข้อค้นพบจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของนักเรียน นักศึกษา
ในศตวรรษที่ 21 สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดเพชรบุรี ด้านรักชาติศาสน์กษัตริย์ มีค่าวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันน้อยที่สุด ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดเพชรบุรี ควรหาแนวทางในการสร้างความตระหนักและความเข้าใจให้กับนักเรียน นักศึกษา เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา เห็นถึงความสำคัญของสถานบันของชาติ ศาสน์ กษัตริย์
ซึ่งเป็นสถานบันหลัก และเป็นศูนย์รวมที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของคนไทย


คำสำคัญ : การพัฒนาตัวบ่งชี้ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ศตวรรษที่ 21

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สภาการศึกษา, มาตรฐานการศึกษา, สหายบล็อกการพิมพ์, พ.ศ.2547, หน้า 1.
[2] สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, แนวทางการพัฒนา การวัด และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551, สำนักงาน, พ.ศ.2553, หน้า 53.
[3] สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, เอกสารคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาตามระดับคุณวุฒิอาชีวศึกษา,
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ, พ.ศ.2557, หน้า 5-6.
[4] อัจศรา ประเสริฐสิน, การพัฒนารูปแบบการวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา, สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, พ.ศ. 2558, หน้า 7-10.
[5] สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินผล
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551, โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, พ.ศ. 2552, หน้า 8.
[6] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,
แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, พ.ศ. 2554, หน้า 3.
[7] กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 8 คุณธรรมพื้นฐาน, โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, พ.ศ. 2550, หน้า 1.
[8] วิจารณ์ พานิช, ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21, สดศรี-สฤษดิ์วงศ์, พ.ศ. 2556, หน้า 16-21.
[9] มณฑา จำปาเหลือง, การฝึกปฏิบัติวิเคราะห์ผลการวิจัยการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, พ.ศ. 2557 หน้า 328-331.
[10] สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย, คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน ในศตวรรษที่ 21, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, พ.ศ. 2560, หน้า 9-17.
[11] Krejcie, R.V. and Morgan, “Determining Sample Size For Research Activities Educational and Psychological Measurement”, Athlone, 1970 pp. 607-610.
[12] สุชาดา กรเพชรปาณี และคณะ, “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดผลกระทบจากการท่องเที่ยวชมหิ่งห้อย : กรณีศึกษาคลองอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม”, ครั้งที่ 1, พ.ศ.2559.
[13] นงลักษณ์ วิรัชชัย, ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (LISREL) สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และ
พฤติกรรมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 2, โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2545, หน้า 32.
[14] เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม, “องค์ประกอบแอปพลิเคชันสำหรับห้องเรียนอัจฉริยะแบบเปิดเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีสำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา”, วารสารงานวิจัย มศก., ปีที่ 11, พ.ศ. 2562, หน้า 235.