การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้ Google Classroom เรื่อง เทคโนโลยีชีวภาพและจุลินทรีย์ในอาหาร เพื่อส่งเสริมการรู้ดิจิทัลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1

Main Article Content

ศิรัญญา จันทร์ซา
ไพศาล วรคำ
สมสงวน ปัสสาโก
พงษ์สวัสดิ์ พิมพิไสย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้ Google Classroom (2) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้   Google Classroom เรื่อง เทคโนโลยีชีวภาพและจุลินทรีย์ในอาหาร ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1  (3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียน และการรู้ดิจิทัล ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้ Google Classroom และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้ Google Classroom ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 กลุ่มที่ศึกษา นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลำภู จำนวน 20 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ (1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้ Google Classroom จำนวน 4 แผน (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ (3) แบบทดสอบออนไลน์ เรื่อง ทักษะด้านการรู้ดิจิทัล (Digital Literacy) 4 มิติ ของสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จำนวน 85 ข้อ (4) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียน ชนิด 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วยสถิติ t-test for Dependent-Samples  ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้ Google Classroom กิจกรรมที่บ้าน 1.นักเรียนสืบค้นข้อมูลเนื้อหาที่ครูกำหนดให้รายบุคคลพร้อมอ้างอิงแหล่งที่มา 2.นักเรียนร่วมสนทนาแบ่งงานกันในรูปแบบออนไลน์ เป็นกลุ่มๆละ 3-5 คน โดยใช้โปรแกรม Google Classroom , Facbook , Like 3.ส่งข้อมูลการนำเสนอเป็นไฟล์ PowerPoint ในห้องเรียน oyicdtu เพื่อให้ครูเช็คข้อมูลและให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ ก่อนนำเสนองานที่ชั้นเรียน กิจกรรมที่โรงเรียน นำเสนอเนื้อหาข้อมูลร่วมกันอภิปรายกรณีตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องที่ครูกำหนดให้สืบค้น ร่วมกันสรุปประเด็นสำคัญพร้อมถาม - ตอบ ครูผู้สอนจะเป็นเพียงแค่ผู้ที่ให้คำแนะนำเท่านั้น  (2) กิจกรรมการเรียนรู้มี 4 แผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.19) (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้ Google Classroom นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ( gif.latex?%5Cbar%7Bx%7D = 15.55) จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน ไม่ต่างจากเกณฑ์ร้อยละ 75 และการรู้ดิจิทัลหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ (4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้ Google Classroom  โดยรวมอยู่ในระดับมาก  (gif.latex?%5Cbar%7Bx%7D = 3.57, S.D. 0.15)

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ศิรัญญา จันทร์ซา, 0847913669

https://drive.google.com/file/d/1jHMIASUBjjyyC5qIKlpeX5AgOdU3Can1/view?usp=sharing

References

กรวรรณ สืบสม และ นพรัตน์ หมีพลัด. (2560). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้อง เรียนกลับด้าน (Flipped classroom) ด้วย การบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียผ่าน Google Classroom. รายงานการวิจัยสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ปิยมาส แก้วอินตา. (2560). การแก้ปัญหาการส่งงานในรายวิชาคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ (Computer and Information for Work) รหัสวิชา 2001-2001 โดยใช้วิธีการส่งงานผ่านระบบห้องเรียนออนไลน์ (Google Classroom) ของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. รายงานการวิจัยสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ.วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย: สำนักคณะกรรมการการ อาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

พฒิพงษ์ มะยา. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พาณิชยกรรม เรื่องการตั้งราคาขาย ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปี ที่ 1 สาขา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน โดยใช้บทเรียนออนไลน์ (Google classroom). รายงานการวิจัยคณะศึกษาศาสตร สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา คณะ ศึกษาศาสตร์ :มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

อัจฉรา เชยเชิงวิทย์. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านเครือข่ายสังคม google classroom.รายงานวิจัย ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.