การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิศึกษาของวิทยาลัยสารพัดช่างอุดรธานี

Main Article Content

ธีรภัทร์ ไชยสัตย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิศึกษาของวิทยาลัยสารพัดช่างอุดรธานี เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบบผสมผสาน (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูล จำนวน 170 คน ผลงานวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 35-39 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี    มีตำแหน่งเป็นครูนิเทศ มีประสบการณ์ในการทำงานระหว่าง 6-10 ปี ด้านการสร้างและตรวจสอบรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิศึกษาของวิทยาลัยสารพัดช่างอุดรธานี พบว่า องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยสนับสนุนการบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประกอบด้วย 1. ด้านบุคลากร   2. ด้านคุณลักษณะผู้บริหาร 3. ด้านวิธีการคัดเลือกผู้บริหารวิชาการ และ 4. ด้านคุณลักษณะของครูฝึกและครูนิเทศ องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินงานตามขอบข่ายการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประกอบด้วย 1. ด้านการบริหารจัดการ 2. ด้านการประชาสัมพันธ์ 3. ด้านการบริหารงานเครือข่าย 4. ด้านการพัฒนาบุคลากร 5. ด้านการจัดการเรียนการสอนและหลักสูตร 6. ด้านการนิเทศ ติดตาม วัดผลและประเมินผล และ 7. ด้านสิทธิประโยชน์ของสถานประกอบการและของผู้เรียน และองค์ประกอบที่ 3 ผลสำเร็จการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประกอบด้วย 1. ด้านคุณลักษณะผู้เรียน 2. ด้านคุณลักษณะของสถานศึกษา และ 3. ด้านคุณลักษณะของสถานประกอบการ สรุปผลการยกร่างรูปแบบโดยภาพร่วมมีความเหมาะสมทุกองค์ประกอบและทุกด้าน ด้านการทดลองใช้รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิศึกษาของวิทยาลัยสารพัดช่างอุดรธานี พบว่า องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยสนับสนุนการบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินงานตามขอบข่ายการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และองค์ประกอบที่ 3 ผลสำเร็จการจัดการอาชีวศึกษาระบบ   ทวิภาคี สรุปผลโดยภาพรวมทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการประเมินรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิศึกษาของวิทยาลัยสารพัดช่างอุดรธานี พบว่า ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ ด้านความถูกต้องครอบคลุม และด้านความเป็นประโยชน์ สรุปผลโดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินตนา รวมชมรัตน์. (2558). รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ณัฐวุฒิ ประทุมชาติ. (2556). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวลอนงค์ ธรรมเจริญ. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีโรงเรียนใน โรงงานแบบบูรณาการ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

นิรุตต์ บุตรแสนลี. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่มุ่งเน้นประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). การจัดการเรียนแบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2558). การลดปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียนอาชีวศึกษา ปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.

สิริชัย นัยกองศิริ. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี โดยบูรณาการการสอนในสถานประกอบการ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สุรชัย ลาพิมพ์. (2562). การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศของวิทยาลัยสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุวิทย์ สวัสดี และชัยยุทธ ศิริสุทธ์ (2563). กลยุทธ์การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร.

Martin, Tischler. (2015). Dual vocational education : How the future works. Frankfurt : Oliver Dehn, Florian Scholl.

Prosser, C. A. (1949). Vocational Education in a Democracy American Technical Society. Chicago : Illinois.