พฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชัน ในยุคการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019(COVID-19) ในอำเภอเมือง จังหวัดเลย

Main Article Content

ยุพิน ป้องศิริ
ดวงเดือน คำอ่อน
พิมพ์ใจ จันทาคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชัน ในยุคการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019(COVID-19) ในอำเภอเมือง จังหวัดเลย โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน สถิตที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน t-test ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคที่สั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชัน ในยุคการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019(COVID-19) ในอำเภอเมือง จังหวัดเลย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 70.13 มีอายุอยู่ระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 48.83 มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 50.54 และมีรายได้ต่อเดือน เท่ากับ 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 31.95


      ในด้านการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคพบว่าผู้บริโภคสั่งอาหารผ่านโมบายแอปพลิเคชันสูงสุด คือ Food Panda ร้อยละ 31.17 ประเภทอาหารที่นิยมสั่ง คือ ฟาสส์ฟู้ด ร้อยละ 24.68 ช่วงเวลาที่สั่งอาหารส่วนใหญ่เวลา 10.01-12.00 คิดเป็นร้อยละ 31.17 และ จำนวนเงินที่สั่งแต่ละครั้ง คือ ต่ำกว่า 100 บาท คิดเป็นร้อยละ 29.09


ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชัน ในยุคการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019(COVID-19) ในอำเภอเมือง จังหวัดเลย โดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.39,  S.D. = 0.37)  โดยปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.52 , S.D. = 0.24)


ผลการทดสอบความแปรปรวน พบว่า พฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชันฯ ในด้านจำนวนเงินที่สั่งซื้อต่อครั้ง มีค่า Probability (Prob.) เท่ากับ 0.000 ซึ่งน้อยกว่า 0.05 หมายความว่า ค่าความแปรปรวนของเพศชายและเพศหญิง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05


 


คำสำคัญ: พฤติกรรมผู้บริโภค การตัดสินใจสั่งอาหาร,  โมบายแอปพลิเคชัน,อำเภอเมือง จังหวัดเลย


 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ยุพิน ป้องศิริ, 0981051561

ประวัติและผลงาน

ชื่อ-สกุล  นางสาวยุพิน  ป้องศิริ  ตำแหน่ง ครู  วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย

    ปริญญาตรี     บธ.บ. สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยรามคำแหง

                         บธ.ม. สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

References

[ 1 ] ฌัชชา แงะสัมฤทธิ์และคณะ, “ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริการธุรกิจจัดส่งอาหารในยุคโควิด-19,” คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, มหาวิทยาลัยนเรศวร, (2564).
[ 2 ] วสุดา รังสิเสนา ณ อยุธยา และอาษา ตั้งจิตสมคิด, “ ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในกรสั่งอารผ่านสื่อออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานครและ บริมณฑล,” การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10, ( 2560).
[ 3 ] กิตติศักดิ์ พรสิทธิศักดิ์, “ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้ใช้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ ผ่านแอปพลิเคชันฟู้ดแพนด้า ในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา,” สหกิจศึกษา ภาควิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ คณะศิลปะศาสตร์ , มหาวิทยาลัยสยาม, (2563).
[ 4 ] ณัธภัชร เฉลิมแดน,“ พฤติการณ์ผู้บริโภคในการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชัน ช่วงเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 (COVID-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร,”คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,(2563).
[ 5 ] นุสรา เรืองสม,“ ความน่าเชื่อถือของแอปพลิเคชัน ส่วนประสมการตลาด 4C’s ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารผ่านแอปพลิเคชันวงในของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร,”การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, (2558).
[ 6 ] ศิริกัญญา อินทร์ขำวงค์,“ การตัดสินใจของผู้บริโภคที่เลือกใช้บริการส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ในเขตพื้นที่ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี,”วิทยานิพนธ์ บธม, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, (2562).