การพัฒนาชุดการสอนวิชางานวัดละเอียดช่างยนต์ รหัสวิชา 20101-2009 ด้วยเทคนิคการสอนแบบการฝึกลงมือปฏิบัติงาน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา การพัฒนาชุดการสอนวิชางานวัดละเอียดช่างยนต์ รหัสวิชา 20101-2009 ด้วยเทคนิคการสอนแบบการฝึกลงมือปฏิบัติงาน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

ธีระพล บุญธรรม

บทคัดย่อ

    การพัฒนาชุดการสอนวิชางานวัดละเอียดช่างยนต์ รหัสวิชา 20101-2009 ด้วยเทคนิคการสอนแบบการฝึกลงมือปฏิบัติงาน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดการสอน 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลชุดการสอนที่พัฒนาขึ้น 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนรู้ด้วยชุดการสอนที่พัฒนาขึ้น 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยชุดการสอนที่พัฒนาขึ้น  การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้น ดังนี้ 1) ขั้นการศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชางานวัดละเอียดช่างยนต์ รหัสวิชา 20101-2009 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 2) ขั้นการสร้างและพัฒนาชุดการสอน ด้วยเทคนิคการสอนแบบการฝึกลงมือปฏิบัติงาน 3) ขั้นสอนจริง ด้วยชุดการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในชั้นพัฒนาชุดการสอน เป็นนักเรียนสาขาวิชาช่างยนต์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 กลุ่ม 1-2 จำนวน 32 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคามและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในขั้นสอนจริง เป็นนักเรียน ชั้นปีที 2 กลุ่ม 3-4 จำนวน 42 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชางานวัดละเอียดช่างยนต์ รหัสวิชา 20101-2009 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการ หาประสิทธิภาพชุดการสอนและค่าดัชนีประสิทธิผลชุดการสอน ได้แก่ 1) ชุดการสอนที่พัฒนาขึ้น 2) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดการสอนที่พัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมุติฐานการสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอนด้วย t-test dependent  ผลการวิจัย พบว่า 1)โดยรวมชุดการสอนมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ชุดการสอนที่พัฒนาขึ้นผลการใช้ชุดการสอนจริงพบว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ E1 เท่ากับ 82.89 และค่า E2 เท่ากับ 80.92 2) โดยรวมชุดการสอนที่พัฒนาขึ้นมีค่าดัชนีประสิทธิผลตามเกณฑ์กำหนด คือ เท่ากับ 0.7730 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.7730 หรือคิดเป็นร้อยละ 77.30 3) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ที่เรียนด้วยชุดการสอนที่พัฒนาขึ้น  ผลการวิจัยเพิ่มเติมจากการใช้ชุดการสอนเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ พบว่า 1) โดยรวมนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนที่พัฒนาขึ้นมีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 70.74 2) โดยรวมนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนที่พัฒนาขึ้น มีเจตคติและคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับดีและ3) โดยรวมผู้ทดลองใช้ชุดการสอนจากการเผยแพร่ พบว่า ชุดการสอนมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ชลิตร์ มณีสุวรรณ. (2551). การวิจัยเรื่อง การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอนวิชาการส่งและจ่ายไฟฟ้า ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.วิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี, สุพรรณบุรี.
[2] ชินภัทร แก้วโกมินทวงษ์. (2560) ชุดการสอนวิชาการขับรถยนต์ รหัสวิชา 2101-2105 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556.หนองคาย.ชัยยงค์ พรหมวงศ์, (2551) เทคนิคและกระบวนการในการผลิตชุดการสอน.สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563. จากhttp://inno- sawake. blogspot.com. /2008/07/1.html.
[3] ณัฏฐพงษ์ ฉายแสงประทีป. (2557). การศึกษาการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติในรายวิชา TMT 423 ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยศรีปทุม.รายงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน.มหาวิทยาลัยศรีปทุม. กรุงเทพฯ.
[4] ทองพูน เบ็ญเจิด. (2557). รายงานการพัฒนาชุดการสอนวิชาวัดละเอียด รหัสวิชา 2102-2004 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์. สุรินทร์.ธีระ กุลสวัสดิ์. (ผู้บรรยาย). (19 มิถุนายน 2558).การหาคุณภาพเครื่องมือในการวิจัย.คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.
[5] บุญชม ศรีสะอาด. (ม.ป.ป.) การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2563 จาก https://edu.msu.ac.th/jem/home/ journal_file/63.pdf.
[6] มนูญ บูลย์ประมุข. (2553). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอนวิชาไมโครโปรเซสเซอร์ หลักสูตรเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร. มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร,กำแพงเพชร.
[7] มานพ ห่วงภัย. (2556). การพัฒนาชุดการสอนควบคุมอัจฉริยะด้วยวิธีการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา.วิทยานิพนธ์. ปร.ด., ครุศาสตร์ไฟฟ้า. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ,กรุงเทพฯ.
[8] มานิตย์ อินทร์คำเชื้อ, วรเชษฐ์ หวานเสียง และ สมหมาย สารมาท. (2554). การสร้าง ชุดการสอนวิชาการออกแบบงานโลหะแผ่นโดยการเขียนแบบแผ่นคลี่ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง คอ.ม., มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาภาคพายัพเชียงใหม่, เชียงใหม่.
[9] พิทักษ์พงษ์ บุญประสม และสมบัติ เรืองแรงสกุล. (2551). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอนเรื่องการร่างและเขียนแบบภาพประกอบอุปกรณ์เครื่องกล สำหรับนักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลในระดับปริญญาตรี. มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพฯ.
[10] ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ :สุวีริยาสาส์น.
[11] สงวน ศรีราม. (2555). รายงานวิจัยการพัฒนาชุดการสอนวิชางานเครื่องมือกล1 รหัสวิชา 2102-2106 หลักสูตรหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 วิทยาลัยเทคนิค สุรินทร์. สุรินทร์.
[12] สันทนา สงครินทร์. (2555). รายงานการสร้างและหาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการสอน วิชาช่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (1105-5203). พุทธศักราช 2548 หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น วิทยาลัยสารพัดช่างอุดรธานี สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. การศึกษาอิสระ.วิทยาลัยสารพัดช่างอุดรธานี. อุดรธานี.