การศึกษาทักษะของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในศตวรรษที่ 21 ของสถาบันการอาชีวศึกษาตามความต้องการของสถานประกอบการ การศึกษาทักษะของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาทักษะของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในศตวรรษที่ 21 ของสถาบันการอาชีวศึกษาตามความต้องการของสถานประกอบการ ผู้วิจัย ได้กำหนดการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยทำการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยทำการวิเคราะห์หาทักษะของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในศตวรรษที่ 21 ระยะที่ 2 การหาทักษะของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในศตวรรษที่ 21 ของสถาบันการอาชีวศึกษา ตามความต้องการของสถานประกอบการ ด้วยเทคนิคการวิจัยแบบEDFR กลุ่มตัวอย่าง คือผู้จัดการหรือหัวหน้างานที่เกี่ยวข้องของสถานประกอบการที่มีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 15 ปี จำนวน 12 คน ระยะที่ 3 การตรวจสอบทักษะของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในศตวรรษที่ 21 ของสถาบันการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน หรือหัวหน้าภาควิชาที่ทำการสอนในระดับปริญญาตรีในวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา หรือวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีจำนวน 129 วิทยาลัยทั่วประเทศ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปและสถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่ามัธยฐาน (Mdn) และพิสัยระหว่างควอไทล์ (IQR) ผลการวิจัยพบว่าทักษะของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในศตวรรษที่ 21 ของสถาบันการอาชีวศึกษาตามความต้องการของสถานประกอบการ คือ ทักษะการเรียนรู้นวัตกรรม ทักษะสารสนเทศเพื่อเทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 เรียนรู้ตลอดชีวิต 3R และทักษะการคิด ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.01) ,(S.D. = 0.46) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการแล้ว พบว่าทุกรายการอยู่ในระดับมากเมื่อเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 ลำดับแรกแล้ว พบว่า รายการที่ 2 ทักษะสารสนเทศเพื่อเทคโนโลยี อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ รายการที่ 3 ทักษะชีวิตและอาชีพ อยู่ในระดับมาก และรองลงมาคือ รายการที่ 5 ทักษะการคิด อยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ : ทักษะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี, ศตวรรษที่ 21, สถาบันการอาชีวศึกษา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
เอกสารอ้างอิง
กัญจณ์ณิชา อิ่มสมบัติ และ อภิชาต เสนานันต์, “การพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนในโรงเรียนหนองชุมแสงวิทยาโดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม” รายงานวิจัย, พ.ศ. 2563.
โครงการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, “การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี” www.sites.google.com, พ.ศ.2541.
ชุติมา ไชยเสน, “การศึกษาทักษะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ประจำปี 2562” , รายงานวิจัย, พ.ศ.2562.
ทศพร ถือพุดซา, “การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนา ประเทศ” , www.prakan2.com, พ.ศ.2563.
นภัสวรรณ อาจกูล, “การวิจัยการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21” ,รายงานการวิจัย , พ.ศ.2562.
เพ็ญแข แสงแก้ว, “การวิจัยทางสังคมศาสตร์” พิมพ์ครั้งที่3, พ.ศ.2541.
ราชกิจจานุเบกษา, “การรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2555”, เล่มที่ 129
ตอนที่ 56 ก, พ.ศ.2555.
ราชกิจจานุเบกษา, “ประกาศ เรื่องยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2651-2580)”, เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก, พ.ศ.2561. www.Ratchakitcha.soc.go.th.
สกล วรเจริญศรี, “การศึกษาทักษะชีวิตและการสร้างโมเดลกลุ่มฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักศึกษาวัยรุ่น” วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, พ.ศ.2550.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, “แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561-2579” , www.Lampang.go.th, พ.ศ.2565.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, “ยุทธศาสตร์
สู่การปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นโยบายยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาในระยะ 15 ปี (พ.ศ.2555 - 2565)”, www.oic.go.t, พ.ศ.2565.
สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล, “ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” www.trueplookpanya.com, พ.ศ.2561.
เอกชัย พุทธสอน, “แนวโน้มการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่” , รายงานการวิจัย, พ.ศ.2556.
อรรคเดช โสสองชั้น, “นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา” , www.ceit.sut.ac.th, พ.ศ.2563.
Ester Vam Laar, Alexander J.A.M. Vam Deursem and Jam A.G.M Vam Digk, “Determinants of 21st Century Skills and 21st Century Digital Skills for Workers : A Systematic Literature Review. SAGE Journals”, 2020.
Joseline M.Samtos, “21st Century Learning Skills : A Challenge in Every Classroom. Burton International Journal Emerging Multidisciplinary Research” , 2017.
Stephanie M.Stehle and Erim E.Pesterd, “Deverloping Student 21st Century Skills in Selected Exemplasuy Inclusive STEM High Schools. Stehle and Petesrd - Burton International Journal of STEM Education” , 2019.