แนวทางและเครื่องมือประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. 2562 แนวทางและเครื่องมือประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. 2562
Main Article Content
บทคัดย่อ
กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. 2562 ได้กำหนดคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาทุกประเภทวิชาและสาขาวิชา ว่าต้องมีคุณภาพอย่างน้อย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะ และ 4) ด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการของสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2564 ได้กำหนดให้มีการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ แต่ยังขาดรายละเอียดและแนวปฏิบัติที่จะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักวิชาการ ดังนั้นบทความนี้จึงได้นำเสนอแนวคิดการประเมินมาตรฐานวิชาชีพของแต่ละหลักสูตรระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถแปลงแนวคิดนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์ บทความนี้ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) บทนำ ซึ่งเป็นการทบทวนนิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ 2) กรอบแนวคิดในการประเมินมาตรฐานวิชาชีพภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ 3) การกำหนดเกณฑ์ระดับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและตารางแผนผังข้อสอบ 4) การหาคุณภาพของเครื่องมือประเมินมาตรฐานวิชาชีพ และ 5) สรุป เป็นส่วนสุดท้ายของบทความที่ได้รวบรวมประเด็นสำคัญไว้เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
วรวิทย์ ศรีตระกูล และ สนุทรผไท จันทระ, “มาตรฐานระดับอุดมศึกษาในบริบทของอาชีวศึกษากับการพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรี ของสถาบันการอาชีวศึกษา”, วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, ปีที่ 3, พ.ศ. 2554, หน้า 1-6.
กระทรวงศึกษาธิการ, “กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562”, กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพมหานคร, 2562.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, “เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. 2562”, สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพมหานคร, 2562.
กระทรวงศึกษาธิการ, “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการของสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2564”, ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 269 ง, หน้า 18-35.
สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ, หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เรื่องที่ 7 การวัดและประเมินผลอาชีวศึกษา, โรงพิมพ์วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, พ.ศ. 2562, หน้า 35-42.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์, “การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน”, วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, ปีที่ 5, พ.ศ. 2556, หน้า 7-20.
อุไร อภิชาตบรรลือ, เทคนิคการสอนวิชาชีพ, พิมพ์ครั้งที่ 3 โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร, พ.ศ. 2562, หน้า 1-187.
มณีญา สุราช, การวัดและประเมินผลการศึกษา, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, จังหวัดอุดรธานี, พ.ศ. 2560, หน้า 1-352.
จตุภูมิ เขตจัตุรัส, วิธีการและเครื่องมือประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน, โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, จังหวัดขอนแก่น, พ.ศ. 2560, หน้า 1-136.
กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์, การประเมินการปฏิบัติ : แนวคิดสู่การปฎิบัติ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร, จังหวัดพิษณุโลก, พ.ศ. 2563, หน้า 1-212.