การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) ในรายวิชากระบวนการควบคุมและการวัดทางอุตสาหกรรม ของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร

Main Article Content

Thanakarn Khumphai
แสงอาทิตย์ เจ้งวัฒนพงศ์
พัฒนพงษ์ มาตุ่น
ปรัชญา หนูปลอด
สุนิษา บัวอรุณ

บทคัดย่อ

 การวิจัยเรื่องการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) ในรายวิชากระบวนการควบคุมและการวัดทางอุตสาหกรรม  ของนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) และ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักศึกษา ในรายวิชาเทคโนโลยีระบบควบคุม ของนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร


การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยในลักษณะการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design)  โดยมีประชากร/กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า ที่ลงทะเบียนในรายวิชาเทคโนโลยีระบบควบคุม  ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 31 คน


ผลวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชากระบวนการควบคุมและการวัดทางอุตสาหกรรม ของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ความสามารถด้านกระบวนการวิจัยของกลุ่มตัวอย่าง หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานอยู่ในระดับสูงกว่าก่อนเรียน   และ 3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิจัยเป็นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย =4.94, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.36)  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สุวัทนา สงวนรัตน์,“ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน รายวิชาการพัฒนาหลักสูตรสำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต”, วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, ปีที่ 9,ฉบับที่ 2 พ.ศ.2564, หน้า 645-659.

ธนาคาร คุ้มภัย และคณะ,“รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเรื่องเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ผ่านการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน”, วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, ปีที่ 5,ฉบับที่ 1 พ.ศ.2563, หน้า 33-41.

Sinlarat, P., Principles and Techniques of Tertiary Education (3rd ed.), Publisher of Chulalongkorn University, 2012

Khemmani, T, Pedagogical Science: Knowledge for effective learning process, Publisher of Chulalongkorn University, 2012

อมรวิชช์ นาครทรรพ, การสอนแบบเน้นวิจัยโดยใช้สัญญาแห่งการเรียนรู้, โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2545

สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร วิทยาลัยการอาชีพกาญนาภิเษกหนองจอก, หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า (ต่อเนื่อง) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563),พ.ศ. 2563

ลัดดา ภู่เกียรติ, การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน : งานที่ครูประถมทำได้, โรงพิมพ์สาฮะแอนด์ซันพริ้นติ้ง, พ.ศ. 2552, หน้า 145-146

ทิศนา แขมมณี, การจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนใช้การวิจัย, โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2548, หน้า 1-3

ปรมาภรณ์ แสงภารา, การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วย วิธีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยในรายวิชา สถิติเพื่อการวิจัย เรื่อง การ วิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์อย่างง่าย, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, พ.ศ. 2554, หน้า 23

ทิศนา แขมมณี, การจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัย

เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้, โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, พ.ศ. 2548, หน้า 61

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, สถิติวิทยาทางการวิจัย, สำนักพิมพ์สุวีริยาสาน์, พ.ศ. 2536,หน้า 47

พิมพันธ์ เดชะคุปต์, การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ:แนวคิดวิธีและเทคนิคการสอน 1, สำนักพิมพ์เดอะมาสเตอร์กรุ๊ฟแมนเนจเม้นท์, พ.ศ. 2544,หน้า 58-59

ศรัญญา ศิริวรศิลป์, “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การผลิตสินค้าและบริการ และความสามารถด้านกระบวนการวิจัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน”, Veridian E-Journal Slipakorn University, ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2558, หน้า 1161-1175.