รูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษาด้วยระบบซอฟต์แวร์บริหารการอาชีวศึกษา เพื่อลดจำนวนนักศึกษาออกเรียนกลางคัน ของวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด

Main Article Content

Wanwisa wattanasin
อาคม จันทร์นาม
ประสิทธิ์ พ้องเสียง
บัญชา หวานใจ
ชกรณ์เกียรติ สิทธิจันทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษาด้วยระบบซอฟต์แวร์บริหารการอาชีวศึกษา เพื่อลดจำนวนนักศึกษาออกเรียนกลางคัน ของวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด (2) ศึกษาผลการใช้งานรูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษาด้วยระบบซอฟต์แวร์บริหารการอาชีวศึกษา จากผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 3 จำนวน 1,145 คน และนักศึกษาชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2 จำนวน 1,042 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษาด้วยระบบซอฟต์แวร์บริหารการอาชีวศึกษา เพื่อลดจำนวนนักศึกษาออกเรียนกลางคัน ของวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 1. ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย การวิเคราะห์นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง ครูที่ปรึกษา และครูผู้สอน 2. กระบวนการติดตามดูแลนักเรียน นักศึกษา เพื่อช่วยลดจำนวนออกเรียนกลางคัน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน 1) การเช็คชื่อกิจกรรมหน้าเสาธง 2) การเช็คชื่อเข้าเรียนรายวิชา 3) การให้ และตัดคะแนนความประพฤติ 4) กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้เรียน 5) การติดตามนักเรียน นักศึกษาในความดูแล 6) การประสานงานกับผู้ปกครอง 3. ประเมินจำนวนนักศึกษาออกเรียนกลางคัน 4. ข้อมูลป้อนกลับจากกระบวนการติดตามดูแลนักเรียน นักศึกษา การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 5 ท่าน แบ่งออกเป็นทางการศึกษา และทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.43, S.D.= 0.50) และผลการใช้งานรูปแบบ พบว่า ปีการศึกษา 2564 นักเรียน นักศึกษาระดับชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ออกเรียนกลางคันลดลงเหลือร้อยละ 36.42, 13.53 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข,“คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชน”,กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, พ.ศ.2563.

จักรภพ เนวะมาตย์, “การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนของวิทยาลัยเทคนิคตากสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา”,

วิทยาลัยเทคนิคตาก, พ.ศ.2559.

ชาคริต จองไว, “การใช้โปรแกรมติดตามผู้เรียนเพื่อลดจำนวนการออกกลางคันของนักศึกษา”, การประชุม

ประคอง กรรณสูตร, สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, พ.ศ.2542.

วัชรี ตระกูลงาม และคณะ, “ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต”, วิทยานิพนธ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, พ.ศ.2550.

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข, “ข้อมูลสำหรับการป้องกันตนเองจากโรค COVID-19 เอกสาร

เผยแพร่สำหรับประชาชน”. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, พ.ศ.2563.

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ,“ยุทธ์ศาสตร์การบริหารจัดการอาชีวศึกษา”,สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการ, พ.ศ.2554.

สำนักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา.“คู่มือโครงการลดปัญหาการออกกลางคัน”.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการ, พ.ศ.2556.

เอกบุตร อยู่สุข, “สาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)วิทยาลัยการชีพพุทธมณฑล

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา”,วิทยานิพนธ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, พ.ศ.2552.