ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

พิมพ์พิชญ์ชา ใจเดียว
กัญภร เอี่ยมพญา
นิวัตต์ น้อยมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา และ 4) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างครูผู้สอน     ในสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในจังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธี Stepwise ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา พบว่า มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rxy =.685, p≤.05) และ 4) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาเรียงตามลำดับค่าอำนาจพยากรณ์จากมากไปน้อย คือ ด้านการกำหนดทิศทางขององค์กร ด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร ด้านการมีวิสัยทัศน์กว้างไกล และด้านการปฏิบัติอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม ร่วมกันทำนายประสิทธิภาพงานวิชาการของ ได้ร้อยละ 80.90 สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z'Y = 1.473Z1+.249Z2 +.155Z4 +.989Z3

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: 2560-2564.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562, 1 พฤษภาคม). ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 3). เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก, หน้า 43.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). รูปแบบการมีส่วนร่วมในสถานศึกษา. วารสารวิชาการ, 5(4), 8-13.

กระทรวงศึกษาธิการ. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561. (ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2561).

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.(2559). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. กรุงเทพ.

นริศ แก้วสีนวล. (2557). การบริหารวิชาการในสถาบันอาชีวศึกษาของรัฐ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 10 (1), 130-147.

พัสกร อุ่นกาศ. (2565). ทักษะความเป็นผู้นำแห่งอนาคต.วารสารJournal of Modern Learning Development, 7 (2), 455-566.

ศศิรดา แพงไทย. (2559). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. 6 (1), 7-11.

นันทนภัส สุทธิการ. (2562). ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธของผู้บริหารที่สงผลตอประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จังหวัด สุราษฎรธานี. วิทยานิพนธหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎรธานี.

Ireland, R. D. and Hitt, M. A. (1999). Achieving and Manintaining Strategic Compettiveness in the 21st Century: the Role of Strategic Leadership, Academy of Management Excutive, 13 (1), 43-57.

สุทธิพงษ์ อันทรบุตร. (2563). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 15 (1), 3-15.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษา. [Online] เข้าถึงข้อมูลวันที่ 8 สิงหาคม 2563 จาก http://www.prakanedu.go.th/แผนพัฒนาการศึกษา.

จงสถาพร ดาวเรือง. (2560). อนาคตภาพการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2559-2569). วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

สุรัตน์ เปี่ยมศิริ. (2563). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานเขตบางเขน. สารนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.

อภิชาติ อนุกูลเวช. (2562). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของครูอาชีวศึกษาในยุคการศึกษาไทย 4.0 สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2551). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 6(2), 10.

อธิวัฒน์ พันธ์รัตน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

รัติยา ทองสีนุช. (2558). ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 8 (2), 91-100.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ” สู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ.กระทรวงศึกษาธิการ.

ดุลคิพลี หลังจิ. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา. วารสารวิจัยวิชาการ, 4 (4), 93-106.

นริศ แก้วสีนวล. (2557). การบริหารวิชาการในสถาบันอาชีวศึกษาของรัฐ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 10 (1), 130-147.

ณัฐฐากาญจน์ ลักษณะเพ็ญ. (2563). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมที่ส่งผลต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดระยอง จันทบุรีและตราด. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ณัฏฐณิชา สังข์ศิลป์เลิศ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์กับการบริหารจัดการความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 3 (1), 56-83.

DuBrin, A. J. (2004). Leadership Research Findings, Practice, and Skills. New York: George Hoffiman.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิง กลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.