การพัฒนาชุดการสอนวิชาโครงการ รหัสวิชา 30101-8501 โดยใช้เทคนิคการสอน แบบใช้โครงงานเป็นฐาน

Main Article Content

ธีระพล บุญธรรม

บทคัดย่อ

การพัฒนาชุดการสอนวิชาโครงการโดยใช้เทคนิคการสอนแบบใช้โครงงานเป็นฐาน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการสอนวิชาโครงการ ตามเกณฑ์  80/80  2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนวิชาโครงการ  3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา  หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้ชุดการสอนวิชาโครงการ ผลการวิจัย  พบว่า  1) ผลการหาหาประสิทธิภาพของชุดการสอนวิชาโครงการ  ของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1  สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม  โดยทดลองกับนักศึกษาภาคสนาม จำนวน  25  คน  อยู่ระหว่าง  25.20 – 26.60  จากคะแนนเต็ม  30 คะแนน  ได้ค่า  E1  อยู่ 84.00 – 88.67  คะแนนสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย  อยู่ระหว่าง  8.04 – 8.48  จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน  ได้ค่า  E2   อยู่ระหว่าง  80.40 – 84.80  โดยหน่วยที่ 1  มีประสิทธิภาพ  E1/E2  เท่ากับ  88.67/83.20  หน่วยที่ 2  มีประสิทธิภาพ E1/E2  เท่ากับ 84.00/80.40  หน่วยที่ 3  มีประสิทธิภาพ  E1/E2  เท่ากับ  84.27/81.60 หน่วยที่ 4  มีประสิทธิภาพ  E1/E2  เท่ากับ  84.08/81.75  หน่วยที่ 5  มีประสิทธิภาพE1/E2 เท่ากับ 84.56/81.60  และหน่วยที่ 6  มีประสิทธิภาพ  E1/E2 เท่ากับ  87.87/84.80  2) ดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนวิชาโครงการ  จากคะแนนทดสอบก่อนเรียน  (Pre-test)  และคะแนนทดสอบหลังเรียน  (Post-test)  ของนักศึกษากลุ่มที่ใช้ชุดการสอนวิชาโครงการ  คะแนนเฉลี่ยทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ  14.07  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  0.49  จากคะแนนเต็ม  30  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  46.94  และคะแนนเฉลี่ยการทดสอบหลังเรียนเท่ากับ  25.58  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  0.46  คิดเป็นร้อยละ  85.19                     ผลปรากฏว่าดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนวิชาโครงการ  มีค่าเท่ากับ  0.81  แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 81  3) ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา จากคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหาประสิทธิภาพของชุดการสอนวิชาโครงการ  โดยใช้ชุด  การสอน  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.01  4) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดการสอนวิชาโครงการ  พิจารณาโดยรวม  ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.47  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  0.69

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีการศึกษา 2563, สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, 2563.

สุวิทย์ มูลคำและสุนันทา สุนทรประเสริฐ, การพัฒนาผลงานทางวิชาการสู่การเลื่อนวิทยฐานะ, บริษัทดวงกมลสมัยจำกัด, 2550.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ, การออกแบบพัฒนาโปรแกรมบทเรียนและบทเรียนบนเว็บ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2545.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์, “เทคนิคและกระบวนการในการผลิตชุดการสอน”, [ออนไลน์] http://inno- sawake. blogspot.com.

สมบัติ ท้ายเรือคำ, การวิจัยการศึกษาเบื้องต้น, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2546.

เผชิญ กิจระการ, ดัชนีประสิทธิผล, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2544.

สัญญา โพธิ์วงษ์, “รายงานการพัฒนาชุดการสอนวิชาเครื่องรับโทรทัศน์ระบบดิจิตอล”, วิทยาลัยเทคนิคนครนายก, 2561.

ทองพูน เบ็ญเจิด, “รายงานการพัฒนาชุดการสอนวิชาวัดละเอียด รหัสวิชา2102-2004 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์”, วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์, 2557.

สงวน ศรีราม, “รายงานวิจัยการพัฒนาชุดการสอนวิชางานเครื่องมือกล1 รหัส 2102-2106 หลักสูตรหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์”, วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์, 2555.

ชินภัทร แก้วโกมินทวงษ์, “ชุดการสอนวิชาการขับรถยนต์ รหัสวิชา 2101-2105 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556”, วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, ปีที่ 5, หน้า 137-149, 2564.

กฤษณะพล เรืองไพศาล, “รายงานการพัฒนาชุดการสอนวิชาโปรแกรมเอ็นซีพื้นฐาน รหัสวิชา 20102-2009 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562”, วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์, 2564.

ไพศาล บุญลับ, “รายงานการพัฒนาชุดการสอนวิชา วิชางานวัดละเอียดช่างยนต์ รหัสวิชา 2101-2106 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาชีพ พุทธศักราช 2556 สาขาวิชาช่างยนต์. วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์”, วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์, 2560.

ธีระพล บุญธรรม, “การสร้างและการพัฒนาชุดการสอนวิชางานวัดละเอียดช่างยนต์ รหัสวิชา 20101-2009 ด้วยเทคนิคการสอนแบบการฝึกลงมือปฏิบัติงาน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 สำนักงานการอาชีวศึกษา”, วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, ปีที่ 6, หน้า 104-114, 2565.

มานพ ห่วงภัย, “การพัฒนาชุดการสอนควบคุมอัจฉริยะด้วยวิธีการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา”,วิทยานิพนธ์. ปร.ด, ครุศาสตร์ไฟฟ้า, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2556.

ขจรศักดิ์ หอมสมบัติและอนุสรณ์ จันทร์ประทักษ์, “การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน รายวิชาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวงจรเพื่อส่งเสริมทักษะการปฎิบัติ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีธีรภาดา”, ว.มรม. ปีที่ 15, 2564, หน้า 55-66.

ณัฏฐพงษ์ ฉายแสงประทีป, “การศึกษาการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติในรายวิชา TMT423 ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยศรีปทุม”, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2557.