การใช้ PowerChatGPT สำหรับการจัดการเรียนการสอนยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการนำ PowerChatGPT เข้าสู่การเรียนการสอน การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่แสนน่าสนใจ การพัฒนาทักษะการวิเคราะห์และการคิด รวมถึงการสร้างห้องเรียนแห่งความสุข (Happiness Classroom) และผู้ศึกษาได้นำเสนอ 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ChatGPT เป็นอะไรและเหตุผลที่ครูและผู้สอนควรใช้ ส่วนที่ 2 การสร้างเนื้อหาการสอนด้วย ChatGPT และส่วนที่ 3 คำแนะนำสำหรับครูและผู้สอนการสร้างเนื้อหาการสอนด้วย ChatGPT
ปัจจุบันนี้การนำ ChatGPT หรือเทคโนโลยี AI อื่นๆ ที่กำลังจะตามมา มาบูรณาการใช้ในการศึกษานั้นจะมีทั้งความท้าทายและโอกาสจำเป็นที่ผู้บริหารการศึกษาต้องเปลี่ยนกรอบความคิดของตนเองเสียก่อน มุมมองแบบดั้งเดิมที่ถือว่า ครูเป็นแหล่งความรู้แหล่งเดียวในห้องเรียนและเป็นศูนย์กลางนั้น ถึงเวลาจะต้องเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเทคโนโลยี ChatGPT จะกลายเป็นแหล่งความรู้ทางเลือกที่ครอบคลุมข้อมูลได้มากกว่าทั้งเวลาและพื้นที่ อีกทั้งค้นหาได้รวดเร็วกว่าและได้คำตอบที่แม่นยำกว่า การบูรณาการ ChatGPT ในกระบวนการเรียนรู้จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้เรียนและครูผู้สอน บทบาทของครูจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนหน้าที่ไปเป็นพี่เลี้ยงและโค้ชแทน โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถปรับให้เหมาะสมกับผู้เรียนรู้แต่ละคน เพื่อปรับให้เข้ากับภูมิทัศน์ใหม่ของการศึกษา การเรียนการสอนจะต้องเปลี่ยนจากระบบที่เน้นครูเป็นศูนย์กลางไปสู่รูปแบบที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อสามารถนำ ChatGPT มาบูรณาการกับการเรียนการสอนเพื่อค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้แบบทันเวลาจริง (real time) นอกจากนี้ วิธีการประเมินผลก็ต้องปรับเปลี่ยนจากการสอบซึ่งทดสอบความจำ มาเป็นกระบวนการประเมินความเข้าใจของผู้เรียนแทน อาจเป็นเพราะว่าระบบการศึกษาใหม่ในยุควิวัฒนาการปัญญาประดิษฐ์ของโลก หัวใจสำคัญในการใช้ชีวิตอย่างมีความหมายในอนาคต คือ การตอบรับเทคโนโลยีอุบัติใหม่ด้วยใจที่เปิดกว้าง เพื่อให้มั่นใจว่า เราจะไม่ตกยุค แต่จะสามารถปรับตัวและได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากเทคโนโลยีอุบัติใหม่ที่กำลังเข้ามาไม่ขาดสาย ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตอบรับกับสถานการณ์การสอนของยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
วรวุฒิ แสงเฟือง, “มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ในโครงการ TSQP”, กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) (2023) [ออนไลน์]. https://www.starfishlabz.com (เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2566)
สุพัตรา ฝ่ายขันธ์, “การใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้น ประสบการณ์เพื่อปรับเปลี่ยนมุมมองของนักเรียนของ นักเรียนชั้นปีที่ 8”, วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัยปีที่ 14, ฉบับที่ 1, (มกราคม - มิถุนายน 2565).
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, “หน่วยศึกษานิเทศก์”, สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, [ออนไลน์]. https://nited.vec.go.th/Portals/25/เอกสารวิชาการ/อ.มานพ.pdf. (เข้าถึงเมื่อ19 สิงหาคม 2566).
วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ราชบัณฑิต, “ChatGPT: ยุคปัญญาประดิษฐ์ได้มาถึงแล้ว (ตอนที่2) การเรียนรู้ของมนุษย์ ต้องคิดใหม่ทำใหม่”, สำนักข่าวอิสรา [ออนไลน์]. https://www.isranews.org/ article/ isranewsarticle/117329-ChatGPT-2.html (เข้าถึงเมื่อ 19 สิงหาคม 2566).