การสร้างและการรักษาฐานเสียงสนับสนุนทางการเมือง ของพรรคชาติไทยพัฒนาในจังหวัดอ่างทอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง การสร้างและการรักษาฐานเสียงสนับสนุนทางการเมืองของพรรคชาติไทยพัฒนาในจังหวัดอ่างทอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบททางการเมืองมีผลต่อการกำหนดยุทธศาสตร์ทางการเมือง
ของพรรคชาติไทยพัฒนาในการสร้างและรักษาฐานเสียงสนับสนุนทางการเมือง 2) เพื่อศึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา มียุทธศาสตร์ในการสร้างและการรักษาฐานเสียงสนับสนุนทางการเมืองในจังหวัดอ่างทอง 3) เพื่อศึกษาสาเหตุที่ทำให้พรรคชาติไทยพัฒนาสิ้นสุดฐานเสียงสนับสนุนทางการเมืองในจังหวัดอ่างทอง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-deph interweave) จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลนำมาวิเคราะห์และตีความทำการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 กระแสความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชน นำมาสู่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 กำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และต้องสังกัดพรรคการเมือง และพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 พรรคชาติไทยจึงได้ก่อตั้งตามบทบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 โดยกลุ่มซอยราชครู และนักธุรกิจที่ใกล้ชิดกับตระกูลชุณหะวัณ และตระกูลอดิเรกสาร 2) พรรคชาติไทยสร้างฐานอำนาจทางการเมืองผ่านนักธุรกิจสัมปทานป่าไม้อย่างนายสมชัย ฤกษ์วรารักษ์ และเมื่อนายสมชัย ฤกษ์วรารักษ์ เสียชีวิต พรรคชาติไทยได้ปรับยุทธศาสตร์ทางการเมืองใหม่ เพื่อรักษาฐานอำนาจ โดยสนับสนุนนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล หรือกลุ่มการเมือง “สำนึกรักบ้านเกิด” และ3) สาเหตุที่ทำให้พรรคชาติไทยพัฒนาสิ้นสุดฐานเสียงสนับสนุนทางการเมืองในจังหวัดอ่างทอง หลังจากการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 เกิดขึ้นจากการย้ายพรรคการเมืองของนักการเมืองกลุ่มตระกูลปริศนานันทกุล เป็นอันสิ้นสุดฐานเสียงสนับสนุนทางการเมืองของพรรคชาติไทยพัฒนาในจังหวัดอ่างทอง ประกอบกับพรรคชาติไทยพัฒนาไม่ได้ส่งผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
เจนจิรา แพนพันธุ์อ้วน. (2564). การปรับตัวของพรรคชาติไทยพัฒนาหลังการสูญเสีย นายบรรหาร ศิลปอาชา กรณีศึกษา: จังหวัดสุพรรณบุรี [วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยบูรพา. ThaiLis.
ปรีชา คุวินทรพันธุ์. (2543). ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ เพื่อนและผู้อุปถัมภ์กับผู้รับอุปถัมภ์ในสังคมที่ซับซ้อน
ในระบบอุปถัมภ์ พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัฒนชัย สีนอเพีย. (2552). ฐานอำนาจทางการเมืองในจังหวัดอ่างทองของนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
[วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ThaiLis. https://shorturl.asia/MamQ0
เยาวลักษณ์ ชาวบ้านโพธิ์. (2563). พรรคชาติไทยกับการสร้างอำนาจทางการเมือง. วารสารสันติศึกษา
ปริทรรศน์ มจร, 8(2), 417-430.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2542). ระบบอุปถัมภ์และการเมืองไทย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรรณี บุญประเสริฐ. (2556) จุดก่อกำเนิด การดำรงคงอยู่ และการพัฒนาเป็นสถาบันของพรรคชาติไทย.
[วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกริก.
สินธุชัย ศุกรเสพย์. (2539). บทบาทของเจ้าพ่อในการเมืองไทย พ.ศ. 2517-2535. [วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร
มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ThaiLis. https://shorturl.asia/aVFAx.