ผลของน้ำทิ้งจากการซักผ้าด้วยเครื่องต่อการรอดชีวิตของไม้ดอกไม้ประดับบางชนิด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของน้ำทิ้งจากการซักผ้าด้วยเครื่องต่อการรอดชีวิตของไม้ดอกไม้ประดับ จำนวน 30 ชนิด ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม พรรณไม้ที่นำมาทดลองแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ไม้ระดับต่ำ-ใหญ่ จำนวน 11 ชนิด และไม้ระดับต่ำ-เล็ก จำนวน 19 ชนิด นำน้ำทิ้งจากการซักผ้าไปรดไม้ดอกไม้ประดับที่ปลูกในกระถางพลาสติก ขนาด 6 นิ้ว ปริมาณ 240 ซีซี/กระถาง วันละ 2 เวลา คือ เวลา 8:00 น. และ เวลา 16:00 น. บันทึกอัตราการรอดชีวิตของไม้ดอกไม้ประดับทั้งหมดเมื่อครบ 30 วัน พบว่า ไม้ระดับต่ำ-ใหญ่ มีการรอดชีวิต 10 ชนิด ไม้ระดับต่ำ-เล็ก มีการรอดชีวิต 18 ชนิด ซึ่งมีอัตราการรอดชีวิตได้มากถึง 90% แสดงว่าไม้ดอกไม้ประดับส่วนใหญ่ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรมสามารถเจริญเติบโตได้ เมื่อใช้น้ำทิ้งจากการซักผ้าที่มีคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีแตกต่างจากน้ำประปาปกติ ดังนั้นจึงสามารถนำน้ำทิ้งจากการซักผ้ามาใช้รดต้นไม้แทนน้ำประปาได้
The effect of washing machine graywater on survival of 30 species ornamental plants in landscape architecture was conducted. Low plant-large with 11 species and low plant-small with 19 species were divided. Graywater was applied 240 cc./pot with 2 times (8:00 and 16:00 h.) on ornamental plants in 6 inches diameter plastic plots. Percentage of survival was recorded within 30 days. It was found that survival rate of 10 species of low plant-large and 18 species of low plant-small were more than 90%. Almost ornamental plants in landscape architecture could be grown with graywater that physical and chemical properties had differed from tap water. The results suggested that graywater could be used instead of tap water for plant growth.
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ทวีวงศ์ ศรีบุรี. 2541. การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. บริษัทมายด์ พับลิชซิ่ง จำกัด:กรุงเทพฯ.
มหาวิทยาลัยมหิดล. 2556. นิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม. (Online).
http:// www.il.mahidol.ac. th/emedia/ecology/ menu_
frame1.htm, 20 ธันวาคม 2556.
มั่นสัน ตัณฑุลเวศด์ และ มั่นรักษ์ ตัณฑุลเวศด์. 2545. เคมีวิทยาของน้ำและน้ำเสีย. ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.
อุดร จารุรัตน์ และ คณะ. 2537. คู่มือผู้ออกแบบและผู้ผลิตระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่ในโครงการจัดทำคู่มือดำเนินงานระบบบำบัดน้ำเสียและการใช้มาตรฐานน้ำทิ้งจากอาคาร. คู่มือเล่มที่ 2. เรือนแก้วการพิมพ์: กรุงเทพฯ.
เอื้อมพร วีสมหมาย, ศศิยา ศิริพานิช, อลิศรา มีนะกนิษฐ, และ ณัฎฐ พิชกรรม. 2551. พรรณไม้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม 1. พิมพ์ครั้งที่ 3, โรงพิมพ์ เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด: กรุงเทพฯ.
World Health Organization. 2006. Overview of graywater management health considerations. (Online). http://www. applications.emro.who.int/dsaf/dsa1203.pdf, 21 มีนาคม 2557.