จริยธรรมการตีพิมพ์
จริยธรรมในการตีพิมพ์
(Publication Ethics)
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร
1. บรรณาธิการมีหน้าที่ดำเนินการให้ตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร และมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความร่วมกับกองบรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อคัดเลือกบทความตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงเวลาของการประเมินบทความ
3. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความ และผู้ประเมินบทความ
4. บรรณาธิการมีหน้าที่ในการตรวจสอบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) เพื่อไม่ให้บทความที่ตีพิมพ์มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น และหากตรวจสอบพบว่าบทความมีการคัดลอกผลงานผู้อื่น กองบรรณาธิการจะหยุดดำเนินการพิจารณาบทความและติดต่อผู้เขียนบทความเพื่อขอคำชี้แจง ประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้น ๆ
5. บรรณาธิการต้องไปเปลี่ยนแปลงผลการประเมินบทความ และเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบทความ
6. บรรณาธิการต้องปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด
7. บรรณาธิการต้องรักษามาตรฐานของวารสาร และพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพ มีความทันสมัยอยู่เสมอ
บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียนบทความ
1. ผู้เขียนบทความต้องเขียนบทความตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “ระเบียบการตีพิมพ์บทความวิจัยวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
2. ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความที่ส่งยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่ส่งบทความซ้ำซ้อนกับวารสารอื่น
3. ผู้เขียนบทความจะต้องระบุชื่อแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนในการทำวิจัย (ถ้ามี) และจะต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)
4. ผู้เขียนบทความจะต้องอ้างอิงผลงาน ภาพ หรือตาราง หากมีการนำมาใช้ในบทความของตนเอง โดยให้ระบุ “ที่มา” เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ (หากมีการฟ้องร้องจะเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ทางวารสารจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น)
5. ผู้เขียนบทความจะต้องปรับแก้ไขบทความตามผลประเมินจากผู้ประเมินบทความและกองบรรณาธิการให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด
6. ผู้เขียนบทความจะต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างข้อมูลเท็จ หรือการปลอมแปลง บิดเบือน รวมไปถึงการตกแต่ง หรือ เลือกแสดงข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับข้อสรุป
7. ชื่อผู้นิพนธ์ที่มีชื่อในบทความจะต้องเป็นผู้มีส่วนในการจัดทำบทความหรือมีส่วนในการดำเนินการวิจัย
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
1. ผู้ประเมินบทความต้องคำนึงถึงคุณภาพของบทความเป็นหลัก โดยพิจารณาบทความภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการ โดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์
2. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
3. ผู้ประเมินบทความต้องตรวจสอบก่อนว่าตนเองมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบทความที่ประเมินหรือไม่ หากพบว่าตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
4. ผู้ประเมินต้องไม่นำข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความไปเป็นผลงานของตนเอง
5. ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความรู้ ประสบการณ์ ความชำนาญเชี่ยวชาญในศาสตร์ของตนเอง โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความ คุณภาพของการวิเคราะห์ และความเข้มข้นของผลงาน
6. ผู้ประเมินบทความต้องต้องรักษาระยะเวลาการประเมินตามกรอบเวลาที่วารสารกำหนด
7. หากผู้ประเมินบทความทราบว่าบทความที่กำลังพิจารณา คัดลอกผลงานอื่น ๆ ผู้ประเมินต้องแจ้งให้บรรณาธิการของวารสารทราบทันที