ผลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนต่อการเจริญเติบโตและผลผลผลิตของมะเขือเทศเชอรี่

Main Article Content

เกศกนก วงศ์ชยานันท์
คมกฤษณ์ แสงเงิน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนที่มีต่อการเจริญเติบโตของมะเขือเทศเชอรี่ และ 2) ศึกษาผลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนที่มีต่อผลผลิตของมะเขือเทศเชอรี่ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 6 สิ่งทดลอง สิ่งทดลองละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 5 ต้น คือ การใส่ปุ๋ยเคมี การใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนอัตรา 50, 100, 150, 200 และ 250 กรัมต่อต้น บันทึกข้อมูล ความสูง จำนวนผลต่อช่อ น้ำหนักผลต่อช่อ สีของผล ความหวาน และความแน่นเนื้อ ตรวจสอบความแปรปรวนระหว่างกลุ่มโดยการทดสอบค่าเอฟ


ผลการศึกษา พบว่า


            1) การเจริญเติบโตของมะเขือเทศเชอรี่ที่ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนในอัตรา 50 กรัมต่อต้น ให้ความสูงของต้นมากที่สุด 103.40 เซนติเมตร มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


            2) ผลผลิตของมะเขือเทศเชอรี่ พบว่า การใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน 150 กรัมต่อต้น ให้จำนวนผลต่อช่อมากที่สุด 3.78 ผลต่อช่อ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่มะเขือเทศเชอรี่ที่ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนทุกอัตราไม่มีผลต่อน้ำหนักผลต่อช่อ ในขณะที่การใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน 200 กรัมต่อต้น ให้ขนาดผลใหญ่ที่สุดมีความกว้างผล 23.14 มิลลิเมตร และความยาวผล 33.78 มิลลิเมตร มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปุ๋ยเคมีให้ความหวาน และความแน่นเนื้อมากที่สุด คือ 9.05 องศาบริกซ์ และ 1.85 นิวตัน ตามลำดับ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  สำหรับค่าสีของผลมะเขือเทศเชอรี่ พบว่า การใส่ปุ๋ยทุกอัตราไม่มีผลต่อค่าสี โดยการใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนในอัตรา 150 กรัมต่อต้น ให้ค่าความสว่างสีมากที่สุด คือ 39.69 การใส่ปุ๋ยเคมีให้ค่าสีแดงมากที่สุด คือ 34.15 การใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนในอัตรา 100 กรัมต่อต้น ให้ค่าสีเหลืองมากที่สุด คือ 27.38 ดังนั้นการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนในการผลิตมะเขือเทศเชอรี่สามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการเพาะปลูกได้อีกวิธีหนึ่งด้วย


 


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปริญญาวดี ศรีตนทิพย์, ชิติ ศรีตนทิพย์, และณัฐธยาน์ ธะวิไส. (2559). ผลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินต่อสมบัติทางเคมีบางประการของดิน ผลผลิตส่วนที่บริโภคได้ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในผักเชียงดา. วารสาร พืชศาสตร์สงขลานครินทร์, 3 (พิเศษ), 50-56.

อานัฐ ตันโช. (2552). คู่มือการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากขยะอินทรีย์. ศูนย์สารสนเทศไส้เดือนดินแม่โจ้ ภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

Benitez, M., Zara, R., & Guzman, C. (2013). Comparative effects of soil organic amendments on growth, yield and antioxidant content of Bitter Gourd (Momordica charantia L. cv. Makiling) Philippine agricultural scientist. 96(4): 359–369.

Donghong, W., Qinghua, S., Xiufeng, W., Min, W., Jinyu, L., & Fengjuan, Y. (2010). Influence of cow manure vermicompost on the growth metabolite contents, and antioxidant activities of Chinese cabbage (Brassica campestris ssp. Chinese). Biol fertil soils. 46: 689-696.

Niloofar, D., Shahram, S., & Forood, B. (2014). Influence of cow manure vermicompost on growth characteristics of german chamomile. Cibtech Journal of Zoology. 3(1):58-61.

Norman, Q. A., Clive, A., Edwards, P. B., James, D., & Metzger, C. L. (2005). Effects of vermicomposts produced from cattle manure, food waste and paper waste on the growth and yield of peppers in the field. Peedobiologia journal of soil ecology. 49: 297-306.

Wang, X. X., Zhao, F., Zhang, G., Zhang, Y., & Yang, L. (2017). Vermicompost improves tomato yield and quality and the biochemical properties of soils with different tomato planting history in a greenhouse study. Frontiers in plant science. 8: 1-11.